ขี่มอเตอร์ไซค์ ทำตามนี้… ขี่ง่าย ปลอดภัยขึ้นเยอะ
การขี่มอเตอร์ไซค์ให้ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ วันนี้ บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด จะมาแนะนำบางเคล็ดลับ ที่สามารถช่วยให้การขับขี่มอเตอร์ไซค์ของคุณปลอดภัยขึ้น
ขับรถมอเตอร์ไซค์ลุยน้ำ อย่างปลอดภัย
เมื่อรถมอเตอร์ไซค์ต้องลุยน้ำ ขับขี่อย่างไรจึงจะปลอดภัย ระดับน้ำต้องสูงไม่เกิน 1 ฟุตจากพื้นถนน ห้ามท่วมถึงกรองอากาศ หรือสูงเกินท่อไอเสีย ผู้ขับขี่ต้องมีทักษะการขับขี่ที่ดีโดยคำนึงความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมทาง ดังนี้
- ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็วสูง ให้ใช้เกียร์ต่ำ รักษาความเร็วให้คงที่ในระหว่างลุยน้ำ เพราะพื้นถนนอาจมีหลุมบ่อที่ผู้ขับขี่มองไม่เห็น อาจเกิดอุบัติเหตุได้
- หากเครื่องยนต์ดับ ห้ามสตาร์ทรถโดยเด็ดขาดให้รีบเข็นไปไว้บนที่แห้ง แล้วทำการตรวจเช็ก และระบายน้ำออกจากท่อไอเสียด้วยการสตาร์ทเครื่องและเร่งเครื่องไว้สัก 3-5 นาที ให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนแล้วจึงขับต่อไปได้
- อย่าเพิ่งดับเครื่องยนต์เมื่อถึงที่หมาย ให้ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ เพื่อให้ความร้อนในท่อไอเสียไล่น้ำออกจากระบบ ช่วยลดการเกิดสนิมในท่อไอเสีย ช่วยรักษาเครื่องยนต์
- หลังลุยน้ำ ผู้ขับขี่สามารถตรวจสภาพรถเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยปัญหาที่มักเกิดขึ้น คือ น้ำมันโซ่แห้ง จากการโดนน้ำเป็นระยะเวลานาน ควรรีบหยอดน้ำมันเพื่อเป็นการถนอมโซ่และความปลอดภัยในการขับขี่
5 วิธี ขับขี่รถจักรยานยนต์ทางโค้ง
เทคนิคการเข้าโค้งที่ถูกต้อง เป็นอีกสิ่งที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีความจำเป็นต้องรู้และฝึกฝนให้ชำนาญ เพราะจะส่งผลเป็นอย่างมากต่อความปลอดภัย จึงรวบรวมเทคนิคการขับขี่รถจักรยานยนต์ทางโค้ง 5 วิธีที่ถูกต้องและปลอดภัย มาฝากกัน
- ใช้สายตามองถนน เพื่อประเมินทาง สังเกตสภาพพื้นผิวถนน ขับขี่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
- ลดความเร็วลงก่อนเข้าโค้ง กรณีเป็นเกียร์ธรรมดาให้เปลี่ยนเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
- เอียงตัวและรถไปในองศาเดียวกันตามทิศทางของทางโค้ง หากเป็นโค้งที่คับแคบ หรือเข้าโค้งด้วยความเร็วควรจะเอียงตัวรถให้พอเหมาะเพื่อสร้างสมดุล ส่วนโค้งง่ายๆ หรือขับขี่ด้วยความเร็วไม่มาก ไม่จำเป็นต้องเอียงรถมากเกินไป อาจทำให้รถเสียหลักลื่นไถลได้
- เท้าทั้งสองข้างวางอยู่บนที่พักเท้าตลอดเวลา หัวเข่าแนบชิดถังน้ำมันตั้งศีรษะให้ตรงเพื่อช่วยสร้างสมดุล เมื่อรถเริ่มวิ่งผ่านโค้งค่อยๆ เร่งเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวล เพื่อช่วยพยุงรถให้ตั้งตรงอย่างปลอดภัย
- ห้ามบีบคลัตช์ขณะเข้าโค้ง เมื่อเข้าโค้งบนถนนที่เปียกหรือลื่น ควรเข้าโค้งอย่างช้าๆ
ทุกครั้งอย่าลืมใส่หมวกกันน็อค
– 69% ช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บศีรษะและสมอง
– 39% ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของคนขับ และคนซ้อนท้าย
การขับขี่รถจักรยานยนต์ บนทางลาดชัน
เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น ชวนมาเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ การขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางลาดชัน เมื่อเดินทางขึ้นหรือลงเนินเขา ผู้ขับขี่ควรปรับความเร็วของรถ เลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสมและควบคุมเบรกโดยวิธีที่แตกต่างจากการขับขี่บนทางเรียบ
การขับขึ้นทางลาดชัน
• เลือกเกียร์ที่เหมาะสมเพื่อขึ้นเนิน
• โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ปรับความเร็วโดยบังคับคันเร่ง
• เมื่อเครื่องเร่งไม่ขึ้น ลดเกียร์ให้ต่ำลงก่อนที่เครื่องยนต์จะกระตุก
• ขี่รถขึ้นยอดเนินอย่างช้าๆ เนื่องจากเรามองไม่เห็นทัศวิสัยข้างหน้า
การขับลงทางลาดชัน
• เลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสมเมื่อขับขี่ลงจากเนิน เอนตัวไปข้างหลังเล็กน้อย
• ใช้ทั้งเบรกตามปกติและเน้นในการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรกควบคู่กันเมื่อขับรถลงจากเนินเขา
• ไม่ควรเบรกค้างไว้บ่อยๆ เพราะจะทำให้เบรกไหม้และเบรกไม่อยู่
• ถ้าต้องการเบรก ควรใช้วิธีย้ำเบรกเป็นระยะๆ หรือใช้เกียร์ต่ำแทนจะเหมาะกว่า
การขับขี่รถจักรยานยนต์ เวลากลางคืน
การขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องปลอดภัยทุกเวลา ไม่ว่ากลางคืนหรือกลางคืน วันนี้เราจึงนำเทคนิคขับขี่รถจักรยานยนต์ตอนกลางคืน มาฝากผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังมากขึ้น
เตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง
– ศึกษาเส้นทางล่วงหน้า และเช็กสภาพอากาศ
– เช็กระบบไฟส่องสว่างให้พร้อมใช้งานทุกดวง
– หลีกเลี่ยงหรืองดยาที่ทำให้มีอาการง่วงซึม
– สวมเสื้อผ้าและหมวกกันน็อคสีสดใส เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน
ขับขี่ด้วยความเร็วที่เหมาะสม สามารถหยุดรถได้ทันอย่าปลอดภัย
– สังเกตเส้นทาง มองให้ดี
– ระมัดระวังทางแยก หรือทางเลี้ยวต่างๆ ควรชะลอความเร็ว
– ไม่ควรอยู่ในจุดบอดของรถคันหน้า
– ไม่เปลี่ยนช่องทางเดินรถกะทันหัน
ในเวลากลางคืน ความสามารถในการมองเห็นระยะทางข้างหน้าจะลดน้อยลง
ดังนั้น หากต้องขับผ่านเส้นทางที่มืดมากๆ ให้เปิดไฟสูง เมื่อมีรถสวนเลนมาค่อยปรับเปิดไฟต่ำ
ดื่มไม่ขับ เมาไม่ขับ ทุกครั้งอย่าลืมใส่หมวกกันน็อค
การขับขี่รถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง
การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนจะมีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากการเรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคการขับขี่ การเลือกสวมใส่เครื่องแต่งกายให้เหมาะสมก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะหมวกนิรภัยจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงให้ผู้ขับขี่
หมวกนิรภัย
ผู้ขับขี่และผู้ช้อนท้ายต้องสวมใส่หมวกนิรภัยที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก มอก. ในขณะขับขี่รถทุกครั้ง ใส่สายรัดคางให้แน่นกระชับพอดี ไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไป โดยปกติสามารถใช้นิ้วชี้สอดเข้าไปใต้คางได้พอดี
ประเภทของหมวกนิรภัย
– หมวกนิรภัยแบบเต็มใบปิดหน้า
– หมวกนิรภัยแบบเต็มใบเปิดหน้า
– หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
การใส่หมวกกันน็อคควรรัดคางในระดับที่พอดีทุกครั้งทั้งคนขับและคนซ้อนท้าย ไม่ว่าจะขับขี่ในระยะทางใกล้หรือไกล ลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยให้ตัวคุณและคนที่คุณรัก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ขับขี่ปลอดภัย by DLT