บทความและความรู้


เช็กก่อนขับ โรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่

20 พ.ย. 2567, 19:31 381

เช็กก่อนขับ โรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่

     อุบัติเหตุทางรถยนต์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขับด้วยความประมาท เมาแล้วขับ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพของผู้ขับขี่ที่ทำให้ไม่สามารถที่จะควบคุมรถได้ เห็นได้จากการที่ทำใบอนุญาตขับขี่จะต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อเป็นการยืนยันว่าเราสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคร้ายแรงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเมื่อขับขี่รถได้ แล้วโรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่ มีโรคหรืออาการใดบ้าง วันนี้ บริษัท ID Drives จำกัด มีคำตอบมาฝากกันค่ะ

รวมโรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่ มีอะไรบ้าง

1. โรคที่เกี่ยวกับสายตา

     สำหรับผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับสายตา อาจส่งผลทำให้การขับรถในช่วงเวลากลางคืนมองเห็นทัศนียภาพเส้นทางต่างๆ ได้ไม่ดีนัก การมองเห็นแสงไฟพร่ามัว รวมไปถึงทำให้มุมมองสายตาแคบลง ไม่ว่าจะเป็นอาการจอประสาทตาเสื่อม ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น 

 

2. อาการหลงลืม

     สำหรับผู้ที่มีอาการหลงลืมโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่จะจดจำเส้นทางไม่ได้ อาการที่ส่งผลให้การตัดสินใจเร่งด่วนได้ยากลำบาก ตัดสินใจช้า ไม่มีสมาธิในการขับขี่ ซึ่งอาจทำให้ขับรถได้อย่างไม่ปลอดภัยนั้นเอง

3. อาการปวดข้อ ปวดกระดูก

     โรคหรืออาการที่เกิดจากการปวดข้อ ปวดกระดูก หรือข้ออักเสบต่างๆ เหล่านี้มักจะมีผลกระทบต่อการขับรถโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการปวดตามข้อต่างๆ เมื่อต้องนังขับรถเป็นระยะเวลานาน การหันมองกระจกข้างได้ลำบากเนื่องจากกระดูคอที่เสื่อม รวมไปถึงการเหยียบคันเร่งที่ไม่เต็มที่เนื่องจากกระดูกข้อเข่าเสื่อมสภาพ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

4. โรคพาร์กินสัน

     สำหรับโรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น เคลื่อนไหวได้ช้าลง ทรงตัวได้ลำบาก ตัดสินใจได้ช้าลง ซึ่งหากขับขี่รถยนต์ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้

 5.  โรคหัวใจ

     สำหรับโรคหัวใจ เป็นโรคที่จะทำให้ผู้ขับขี่รถมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอกขณะขับรถได้ เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์การขับรถนานๆ อาจเกิดความเครียด ความกดดันจากรถติด หรือปัญหาการจราจร จนทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกขณะขับรถได้

6. โรคลมชัก

     โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดการเกร็งชัก และกระตุกโดยที่ไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาพหลอน หูแว่ว หรือหัวใจเต้นผิดปกติอีกด้วย

7. โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้)

     ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารควบคุมได้ หากปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ไปจนถึงขั้นหมดสติได้ จะทำให้ความสามารถในการขับขี่นั้นลดตามลงไปด้วย หากขับรถก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

8. โรคหลอดเลือดในสมอง

     โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นภาวะที่สมองขาดเลือด หรืออาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้ความไวในการตอบสนองช้าลง ไม่มีแรงในการบังคับพวงมาลัยหรือเปลี่ยนเกีย แขนขานั้นไม่มีแรงขับรถ หรือ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก บางคนนั้นอาจมีการเกร็งและชักกระตุก หรือ ขากระตุก 

9. มีอาการป่วย ต้องทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึม

     สำหรับผู้ที่มีอาการป่วย ต้องทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึมเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการหลับในมึนงงและสับสนขณะขับรถ รวมไปจนถึงการตัดสินใจต่างๆ และสมาธิในการขับรถก็ลดลงไปด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :   TQM


แสดงความคิดเห็น

Scroll to Top