บทความและความรู้


Boreout, Brownout, Burnout Syndrome คืออะไร? ปัญหา Mental Health ที่ต้องเจอกันทุกออฟฟิศ

19 ก.ย. 2567, 04:34 254

Boreout, Brownout, Burnout Syndrome คืออะไร? ปัญหา Mental Health ที่ต้องเจอกันทุกออฟฟิศ

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่สูงขึ้น หลายคนพบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับสภาวะอารมณ์ที่หลากหลายอันเกี่ยวข้องกับงาน ทั้งความเครียด วิตกกังวล หรืออาจไปจนถึงขนาดเป็นโรคซึมเศร้า แต่สำหรับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศแล้ว คงหนีไม่พ้น ‘ภาวะเบื่องาน หมดใจ หมดไฟ’  (Boreout, Brownout, Burnout Syndrome) ทราบหรือไม่ว่าภาวะเบื่องานมีหลายระดับ และก็ส่งผลต่อสภาวะจิตใจเราแตกต่างกัน วันนี้ชวนคุณไปเช็คกันหน่อยว่าคุณอยู่ในระดับไหน พร้อมเทคนิคดี ๆ ในการเติมไฟในการทำงานด้วย

Image Credit: by azerbaijan_stockers on Freepik

 

1. Burnout Syndrome

Burnout Syndrome  “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” คือ สภาวะความเหนื่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์เรื้อรังที่เกิดจากความเครียดที่มากเกินไปและยาวนาน อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงภาระงานที่สูง การขาดการควบคุมงานของตน การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานไม่เพียงพอ และ ขาดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน นอกจากนี้ การขาดการยอมรับหรือรางวัลสำหรับความพยายามของตนเองอาจส่งผลต่อความรู้สึกเหนื่อยหน่ายได้ มักมีอาการ เช่น รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย, มองโลกในแง่ร้าย, ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน, คลื่นไส้ เวียนหัว อยากอาเจียน ปวดท้อง, ทำงานช้าและคุณภาพของงานลดลง

2. Boreout Syndrome

Boreout Syndrome “ภาวะเบื่องาน” เป็นภาวะทางจิตที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลไม่ได้รับการตอบสนองมากเกินไปหรือไม่มีใครสนใจในสภาพแวดล้อมการทำงานของตน มักจะประสบกับความเครียดและความเหนื่อยล้าอย่างท่วมท้น จนสามารถนำไปสู่ความรู้สึกคับข้องใจ ความไม่พอใจ และความไม่มีส่วนร่วมในที่ทำงานได้ รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานและแรงจูงใจลดลง มีลักษณะอาการ เช่น เบื่อไม่อยากมาทำงานที่ได้รับมอบหมาย, รู้สึกไม่ภาคภูมิใจในการทำงาน, มองหางานใหม่อยู่ตลอดเวลา, ฝืนตัวเองเพื่อตื่นมาทำงานทุกวัน

3. Brownout Syndrome

Brownout Syndrome “ภาวะหมดใจในการทำงาน” ซึ่งเป็นภาวะรุนแรงที่สุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากหัวหน้ามีความคาดหวังต่อเราสูง และกดดันให้เราทำตามที่เขาต้องการ กลายเป็นการทำงานที่ขาดแรงจูงใจในการทำงาน และไม่เข้าใจว่าทำไปเพื่ออะไร ผลที่ตามมาคือการ Quite Quitting หรือการลาออกแบบเงียบ ๆ ไปนั่นเอง มักมีอาการ เช่น มาทำงานสายโดยตั้งใจ, ขาดงานโดยไม่รู้สึกผิด, อยากลาทุกวัน, ไม่พร้อมรับผิดชอบงาน, ลาออกได้ทุกเมื่อ, ไม่รู้สึกภาคภูมิใจในงานที่ทำ

 

มาเช็ควิธีเติมไฟกันหน่อย

Image Credit: by azerbaijan_stockers on Freepik

  • ทำ Check list: โดยทำลิสต์รายการที่ต้องทำในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ หรือเป้าหมายใหญ่รายเดือน รายปีเอาไว้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของงานว่าต้องทำอะไรบ้าง มีเป้าหมายความตั้งใจในการทำงานเพิ่มขึ้น มีสิ่งให้รับผิดชอบ แล้วเราจะกระตือรือร้นขึ้นอีกด้วย
  • รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น: ด้วยนโยบาย Work Form Home, Work Life Balance หรือ Work Life Integration เพื่อไม่ให้พนักงานทำแต่งานเพียงอย่างเดียว จนไม่ได้ใช้ชีวิตส่วนตัว และสนับสนุนให้พนักงานพักผ่อน/ ใช้วันลา ในช่วงเวลาอันเหมาะสม เพื่อ Refresh ให้ทั้งร่างกายและจิตใจได้พักผ่อน พร้อมในการทำงานต่อไป
  • ให้รางวัลตัวเอง: ไม่เพียงแค่เป็นการเลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน แต่เรื่องง่ายๆ ที่ทำได้ เช่น กินชาบู เนื้อย่าง หมูกระทะ ไปคาเฟ่ ดูหนัง หรือทานอาหารที่อยากกินในวันหยุดสุดสัปดาห์
  • จัดการ Workload ให้เหมาะสม: ในองค์กรต้องจัดการ Workload และ Deadline ให้สมเหตุสมผล ป้องกันการมีงานในมือจำนวนมากในช่วงเวลานาน หาทางออกโดยการหาพนักงานภายนอกมาช่วย เช่น จ้างงานแบบ Contract ตามช่วงเวลาที่งานจะหนัก หรือหานักศึกษาฝึกงาน
  • อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น: ทุกคนมีข้อดีข้อเสียในแบบของตัวเอง การนำความสำเร็จของคนอื่นมาเป็นบรรทัดฐานในการทำงาน นอกจากจะเครียดแล้วยังไม่ได้ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
  • ชื่นชมยินดีอย่างจริงใจ: หากพนักงานสร้างผลงานได้โดดเด่น ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก หรือใหญ่ องค์กรควรมี Action ให้เห็นถึงความสำเร็จนั้น และมี Role Model เพื่อเป็นแบบอย่างให้พนักงานทำตามอย่างสบายใจ
  • สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตร: เริ่มจากหัวหน้างานต้องหมั่นสังเกต สอบถาม พูดคุยความกังวลของพนักงาน ทั้งเรื่องงานหรือแม้เรื่องส่วนตัว ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แต่สามารถทำให้เป็นจริงได้ไม่ได้สร้างความกดดันให้ทีมมากเกินไป มีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานเสริมสร้างความความพันธ์ ยิ้ม ไหว้ ทักทาย สร้างบรรยากาศที่เป็นบวกให้แก่องค์กร น่ามาทำงานมากขึ้น

 

Image Credit: by azerbaijan_stockers on Freepik

 

‘ภาวะเบื่องาน หมดใจ หมดไฟ’  (Boreout, Brownout, Burnout Syndrome) แก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษกับร่างกายและจิตใจ เปลี่ยนมุมคิด ปรับมุมมอง จาก Toxic People ให้เป็น Positive People ให้ได้ ทัศนคติในการมองปัญหาคือสิ่งสำคัญ ที่จะลดความเครียดในการทำงานลงได้ มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ ยังเป็นคำที่ใช้ได้เสมอ จงอย่าตกเป็น ‘เหยื่อ’ ของคำว่า ‘เบื่อ’ เพียงมีสติ รู้เท่าทันตัวเอง ถอยออกมาดูสถานการณ์จากภาพรวม ก็จะทำให้เราประเมินได้ว่าควรจะก้าวเดินต่อไปอย่างไร

วันนี้ บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด จะพามาเช็กตรวจสุขภาพใจ  MENTAL HEALTH CHECK IN เรามาทดสอบตามลิ้งค์ นี้กันค่ะ https://checkin.dmh.go.th/

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : lifestyleasia

ขอขอบคุณแบบทดสอบจาก : กรมสุขภาพจิต


แสดงความคิดเห็น

Scroll to Top