ไฟหน้ารถ ใช้อย่างไรให้ไม่รบกวนสายตาผู้อื่น
สำหรับผู้อ่านทุกคนที่เป็นผู้ใช้รถใช้ถนน คงต้องเจอกันเกือบทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ไฟหน้ารถยนต์ แยงตาจากรถคันที่วิ่งสวนมา ทั้งการลืมปิดไฟสูงบ้าง หรือจะเป็นไฟหน้ารถยนต์ที่มีการดัดแปลงให้มีความสว่างเกินกว่ากฎหมายบ้าง วันนี้เรามาทราบกันว่าจะดัดแปลงหรือเปลี่ยนไฟหน้ารถยนต์แบบไหนให้ไม่รบกวนผู้อื่น
เคยเกิดเหตมาก็หลายเคส กับการทะเลาะวิวาทกันกลางถนนเพราะไฟหน้ารถยนต์ วันนี้เรามาทำความรู้จักและการใข้งานไฟให้ถูกต้องตามกฎหมายกันว่าจะใช้งานหรือดัดแปลงอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
กฎหมายไฟหน้ารถยนต์
ตามกฎหมายกำหนดให้ไฟหน้ารถยนต์มีสีขาวหรือเหลืองอ่อนเท่านั้น ส่วนความเข้มของแสงต้องไม่เกิน 55 วัตต์ และติดตั้งสูงจากผิวถนนไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร รูปแบบการกระจายแสงต้องอยู่ในระดับตรงช่องจราจรและไม่รบกวนสายตาผู้ขับขี่รายอื่น
ซึ่งถ้าพิจารณาตามกฎหมายเบื้องต้นแล้วคงไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้น ข้อสรุปสำหรับการเปลี่ยน ไฟหน้ารถ หรือดัดแปลงเองควรจะอยู่ตามกฎหมาย หรือถ้าต้องการจะเปลี่ยนเป็นไฟซีนอนก็ไม่ควรปรับดัดแปลงเป็นสีอื่นๆ นอกจากสีขาว หรือสีเหลืองอ่อน และมีค่ากำลังวัตต์ที่ไม่เกินกำหนด
สรุปได้ว่าการดัดแปลงไฟหน้ารถยนต์ควรอยู่ตามกฎหมายกำหนดเช่น สีขาว หรือสีเหลืองอ่อน การดัดแปลงให้มีความสว่างจ้ามากเกินกว่าปรกติ หรือปรับแสงเป็นสีต่างๆเช่น สีฟ้า เขียว แดง นั้นผิดกฎหมายอย่างเต็มที่
อย่างไรก็อยากให้การใช้รถใช้ถนนควรนึกถึงเพื่อนร่วมท้องถนนด้วยเพื่อนสังคมที่ดีต่อไปครับเพราะการใช้ไฟที่มีความสว่างมากหรือมีสีต่างๆ อาจทำให้ผู้ที่ขับรถสวนมาเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตได้นะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.autospinn.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์
Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า)
โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377
อีเมล : contact@iddrives.co.th
425
10 เม.ย. 2568, 22:44
เชื่อว่าหลายคนอาจจะสงสัยกันว่า ทำไมป้ายทะเบียนรถจึงต้องมีหลายสี แล้วแต่ละสีนั้นมีความหมายอย่างไรบ้าง? และบางทีรถรุ่นเดียวกันแต่ใช้ป้ายทะเบียนคนละสี? มีทั้งป้ายที่สะท้อนแสงและไม่สะท้อนแสง
วันนี้วิริยะประกันภัยจะขอพาทุกท่านไปไขข้อสงสัยเหล่านี้พร้อมๆ กัน กับความหมายของสีที่ซ่อนอยู่บนป้ายทะเบียนต่างๆ จะมีสีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ป้ายสีขาวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง และรถยนต์ทั่วไป ซึ่งเป็นป้ายทะเบียนที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด
ป้ายสีขาวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีเขียว หมายถึง รถบรรทุกส่วนบุคคล เช่น รถกระบะ หรือ รถบรรทุกขนาดเล็ก แต่สำหรับรถกระบะบางคันที่เป็นป้ายตัวหนังสือสีดำนั้น หมายความว่า จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หากใช้ในการบรรทุกเมื่อไหร่ จะถือว่าผิดกฏหมายทันที
ป้ายสีขาวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีน้ำเงิน หมายถึง รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้
ป้ายสีแดงตัวหนังสือสีดำ หมายถึง ป้ายที่ออกให้ชั่วคราว เพื่อบ่งบอกว่ารถยนต์คันนี้ยังไม่ได้การรับรองด้วยการจดทะเบียนตามกฏหมาย ซึ่งรถคันดังกล่าวสามารถใช้งานบนถนนได้ชั่วคราว แต่ต้องอยู่ในข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก
ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นลายกราฟฟิค หมายถึง ป้ายทะเบียนที่มีการประมูลตัวเลขชุดพิเศษ
ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสงตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถจักรยานยนต์ และ รถยนต์รับจ้าง ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน เช่น Taxi หรือ มอเตอร์ไซค์วิน
ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสงตัวหนังสือสีแดง หมายถึง รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสงตัวหนังสือสีน้ำเงิน หมายถึง รถยนต์เล็ก 4 ล้อรับจ้าง เช่น รถกระป๊อ
ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสงตัวหนังสือสีเขียว หมายถึง รถ 3 ล้อรับจ้าง เช่น รถตุ๊กๆ
ป้ายสีเขียวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีดำ/สีขาว หมายถึง รถบริการทัศนาจร และรถบริการให้เช่า เช่น รถลิมูซีนสนามบิน
ป้ายสีส้มสะท้อนแสงตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถบรรทุกพ่วง รถแทรกเตอร์ และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม
ป้ายสีขาว (ไม่สะท้อนแสง) ตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถยนต์ของผู้แทนทางการฑูต จะขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วตามด้วยเลขทะเบียนรถ
ป้ายสีฟ้า (ไม่สะท้อนแสง) ตัวหนังสือสีขาว แบ่งได้ 3 หมวดได้แก่
อักษร พ คือ หน่วยงานพิเศษในสถานฑูต
อักษร ก คือ คณะผู้แทนกงศุล
อักษร อ คือ องค์กรระหว่างประเทศ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.viriyah.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์
Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า)
โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377
อีเมล : contact@iddrives.co.th
262
10 เม.ย. 2568, 18:50
ป้ายภาษี กับ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ใช่อันเดียวกัน
กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันชำระค่าภาษีรถยนต์และทำพ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งทั้ง 2 อย่างมีการแยกประเภทแบบชัดเจนอยู่แล้ว แต่ก็อาจมีบางคนยังสับสนว่าระหว่างป้ายภาษี และ พ.ร.บ. นั้นต่างกันอย่างไร และมีไว้ทำอะไร วันนี้เราจะพาไปไขข้อข้องใจ ป้ายภาษี กับ พ.ร.บ. ไม่ใช่อันเดียวกัน! ใครยังสงสัยอยู่ ต้องดู!
ป้ายภาษีรถยนต์คืออะไร?
ป้ายภาษีรถยนต์ เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องต่อทุกปีตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพราะถ้าหากไม่ต่อภาษีรถยนต์นานติดต่อกันเกิน 3 ปี จะทำให้ถูกระงับทะเบียนรถได้เลยทันที ผู้ขับขี่อาจจะต้องเสียเวลานำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่อีกครั้ง แล้วจึงจะได้ป้ายภาษีเก่ากลับมา ที่สำคัญเมื่อนำรถไปจดทะเบียนภาษีใหม่อาจถูกเก็บภาษีย้อนหลังอีกด้วย ถ้าหากผู้ขับขี่คนไหนไม่อยากเสียภาษีย้อนหลัง การต่อภาษีรถยนต์ตรงต่อเวลาจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำมากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันการต่อภาษีรถยนต์นั้นสามารถทำได้ก่อนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน และจะต้องทำพ.ร.บ. รถยนต์ ให้เสร็จก่อนต่อภาษี เพื่อให้ได้ป้ายภาษีสี่เหลี่ยมมาติดกระจกหน้ารถ เพราะถ้าหากโดนตรวจแล้วพบว่าไม่มีป้ายนี้ผู้ขับขี่จะได้รับโทษปรับ 400-1,000 บาท นั่นเอง
พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร?
พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำไว้ เพราะถ้าหากตรวจสอบแล้วว่ารถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายว่าไว้จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นเอกสารที่สำคัญมากจะต้องเป็นเก็บไว้ให้ดี เนื่องจากเป็นเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกด้วย หากรถคันไหนที่ได้ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ไว้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาตัว พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต ตามวงเงินที่คุ้มครองในกรมธรรม์ของรถยนต์ประเภทนั้นๆ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้พูดถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายว่า การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต
เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว”
ดังนั้นรถทุกคันจะต้องมี ป้ายภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อการประกันภัยต่อตัวรถและบุคคล และที่สำคัญทั้ง 2 อย่างนี้ จำเป็นต้องทำทุกปีตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ เพราะถ้าหากรถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ ความคุ้มครองและการชดเชยค่าเบิกจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะไม่สามารถทำได้ และจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ด้วยเช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.viriyah.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์
Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า)
โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377
อีเมล : contact@iddrives.co.th
380
11 เม.ย. 2568, 14:21
เมื่อเด็กๆ ต้องก้าวขาออกจากบ้านไปโรงเรียนความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะในการเดินทางด้วยยานพาหนะ เช่น รถโดยสาร รถโรงเรียน รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ส่วนบุคคล ผู้ปกครองและเด็กๆ ควรให้ความสำคัญกับการเดินทางอย่างปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นบนท้องถนน
เคล็ดลับเดินทางปลอดภัยสำหรับเด็กๆ
สอนให้รู้จักป้ายจราจร ที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ป้ายจราจรบริเวณโรงเรียน หรือระหว่างทางกลับบ้าน เพื่อให้เด็ก ๆ จดจำและปฏิบัติได้ถูกต้อง
สวมหมวกกันน็อก ปรับสายรัดคางให้พอดี ช่วยลดโอกาสบาดเจ็บที่ศีรษะ
คาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ ไม่ว่าจะนั่งข้างหน้าหรือข้างหลัง สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรนั่งคาร์ซีท
รอรถจอดสนิทก่อนค่อยลง ขึ้น-ลงทุกครั้ง รอให้รถจอดสนิท ใช้ประตูที่ติดกับฝั่งทางเท้าเพื่อความปลอดภัย
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก ขับขี่ปลอดภัย dy DLT
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
Facebook : สอนขับรถพร้อมสอบใบขับขี่ที่ ไอดี ไดร์ฟเวอร์
Line : @iddrives (มี@ข้างหน้า)
โทรศัพท์ : 098-2610126 หรือ 0934083377
อีเมล : contact@iddrives.co.th
238
10 เม.ย. 2568, 18:56
กรมการขนส่งทางบก ย้ำ!!! ผู้ประกอบการขนส่งต้องมีบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัย ในการขนส่ง (Transport Safety Manager : TSM) เริ่มบังคับใช้กับผู้ประกอบการขนส่งกลุ่มแรก ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
จะเกิดอะไรขึ้นหากองค์กรฝ่าฝืนและไม่มี TSM ประจำบริษัท
TSM: หัวใจสำคัญของความปลอดภัยและประสิทธิภาพการขนส่ง
บทนำ
ในยุคโลกาภิวัตน์ที่การขนส่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคม ความปลอดภัยและประสิทธิภาพการขนส่งจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญ องค์กรที่มีระบบการขนส่งที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลดีต่อทั้งตัวองค์กรเอง ลูกค้า และสังคมโดยรวม
TSM (Transport Safety Management) หรือ หัวหน้าระบบบริหารจัดการความปลอดภัยการขนส่ง เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนระบบการขนส่งให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ TSM มีหน้าที่หลักในการวางแผน ควบคุม กำกับดูแล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยการขนส่ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ส่งเสริมประสิทธิภาพการขนส่ง และสร้างความมั่นใจให้กับทุกภาคส่วน
เนื้อหา
หน้าที่หลักของ TSM
TSM มีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้
วางแผนและจัดทำระบบบริหารจัดการความปลอดภัยการขนส่ง: TSM จะต้องวิเคราะห์ความเสี่ยง กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการความปลอดภัยการขนส่ง
ควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงาน: TSM จะต้องตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของระบบบริหารจัดการความปลอดภัยการขนส่ง รวมทั้งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
พัฒนาระบบบริหารจัดการความปลอดภัยการขนส่ง: TSM จะต้องศึกษา เรียนรู้ และติดตามความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งนำมาพัฒนาระบบบริหารจัดการความปลอดภัยการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ฝึกอบรมและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพนักงาน: TSM จะต้องฝึกอบรมและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพนักงานเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการความปลอดภัยการขนส่ง รวมทั้งปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับองค์กร
ประโยชน์ของการมี TSM
การมี TSM ประจำองค์กร ส่งผลดีต่อองค์กรในหลายๆ ด้าน ดังนี้
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ: TSM จะช่วยระบุและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการขนส่ง และนำเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขความเสี่ยงเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลดีต่อทั้งพนักงาน ลูกค้า และภาพลักษณ์ขององค์กร
เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง: TSM จะช่วยบริหารจัดการงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง เช่น การจัดการรถ การจัดการผู้ขับขี่ การจัดการการเดินรถ การจัดการการบรรทุกและการโดยสาร และการบริหารจัดการการวิเคราะห์และประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไร
สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า: TSM จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่า สินค้าและบริการขององค์กรมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ ซึ่งจะช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้
ปฏิบัติตามกฎหมาย: TSM จะช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกปรับหรือถูกดำเนินคดี
ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นหากไม่มี TSM
หากองค์กรไม่มี TSM ประจำองค์กร อาจส่งผลเสียต่อองค์กรในหลายๆ ด้าน ดังนี้
เสี่ยงต่อการถูกเปรียบเทียบปรับ: ตามประกาศกรมขนส่งทางบก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
ผู้ประกอบการขนส่งทุกรูปแบบ ต้องมี TSM ประจำองค์กร หากฝ่าฝืนจะมีโทษดังต่อไปนี้
ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
เปรียบเทียบปรับ
สั่งให้หยุดประกอบการขนส่งชั่วคราว
สั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
กรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งฝ่าฝืนซ้ำ กรมขนส่งทางบก มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่ง โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดระยะเวลาการพักใช้สิทธิ์
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการขนส่งที่ไม่มี TSM ประจำองค์กร ยังมีความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ หรือหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค อีกด้วย
ดังนั้น ผู้ประกอบการขนส่งทุกท่านควรปฏิบัติตามประกาศของกรมขนส่งทางบกอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน ลูกค้า และผู้ใช้ถนนคนอื่นๆ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขนส่งสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TSM และวิธีการขอมี TSM ประจำองค์กรได้ที่เว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก https://www.dlt.go.th/**
ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นหากไม่มี TSM
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ: องค์กรที่ไม่มี TSM อาจขาดระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ส่งผลเสียต่อทั้งตัวองค์กรเอง พนักงาน ลูกค้า และภาพลักษณ์ขององค์กร
ประสิทธิภาพการขนส่งลดลง: องค์กรที่ไม่มี TSM อาจไม่มีระบบบริหารจัดการงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งโดยรวม เช่น รถติดขัด สินค้าส่งล่าช้า ต้นทุนสูง และผลกำไรลดลง
เสียเปรียบคู่แข่ง: องค์กรที่มี TSM แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในความปลอดภัยและมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดลูกค้าและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร องค์กรที่ไม่มี TSM อาจเสียเปรียบคู่แข่งในด้านนี้
อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทธุรกิจ ขนาดองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และความเชี่ยวชาญของบุคลากรที่มีอยู่
บทสรุป
TSM มีบทบาทสำคัญต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพการขนส่ง องค์กรที่มี TSM ประจำองค์กร ย่อมส่งผลดีต่อทั้งตัวองค์กรเอง พนักงาน ลูกค้า และสังคมโดยรวม องค์กรควรพิจารณาผลดีผลเสียอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจว่าจะมี TSM ประจำองค์กรหรือไม่
หากองค์กรต้องการมี TSM ประจำองค์กร สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้าน TSM หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอคำปรึกษาและรับคำแนะนำเพิ่มเติม
ติดต่อ โทร : 083-5161596
1889
11 เม.ย. 2568, 17:30