บทความและความรู้


แผ่นป้ายหมายเลขโลหะที่ติดมากับกุญแจรถคืออะไร?

          ใครก็ตามที่ซื้อรถใหม่ป้ายแดงออกมาจากโชว์รูม คงจะเห็นว่าในพวงกุญแจรถที่ให้มานั้น วันนี้ บริษัท ID Drives จะมาแนะนำ มีแผ่นโลหะขนาดเล็กที่สลักหมายเลขติดมาให้ด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของรถจะต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนหายอย่างเด็ดขาด คงอยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะครับว่าเจ้าสิ่งนี้คืออะไรกันแน่? แผ่นป้ายหมายเลขกุญแจ เป็นรหัสเฉพาะสำหรับรถแต่ละคันสำหรับทำกุญแจดอกใหม่ในกรณีกุญแจสูญหาย ซึ่งโดยปกติแล้วหากกุญแจดอกใดดอกหนึ่งหาย สามารถนำกุญแจสำรองที่เหลือไปให้ศูนย์บริการทำดอกใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นป้ายโลหะดังกล่าว        แต่กรณีกุญแจหลักและกุญแจสำรองหายพร้อมกันทุกดอก คุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำแผ่นป้ายหมายเลขดังกล่าวไปให้ศูนย์บริการเพื่อทำกุญแจดอกใหม่ หากว่าไม่มีรหัสดังกล่าว อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเบ้ากุญแจทั้งชุด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงจนถึงหลักหมื่นบาทได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีอยู่ภายในบ้าน   ทางที่ดีคุณควรพ่วงแผ่นป้ายไว้กับกุญแจสำรองที่เก็บรักษาอยู่ภายในบ้าน ไม่ควรห้อยติดตัวไปใช้งาน เมื่อใดก็ตามที่จำเป็นต้องนำกุญแจสำรองออกมาใช้ ก็ควรถอดแผ่นป้ายโลหะเก็บไว้อีกที หรืออีกวิธีหนึ่งคือการถ่ายรูปแผ่นป้ายเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือ เผื่อกรณีเกิดสูญหายขึ้นมาจริงๆ ก็สามารถใช้รหัสดังกล่าวเพื่อแสดงให้กับศูนย์บริการได้เช่นกัน      รู้แบบนี้แล้วก็ควรเก็บรักษาแผ่นป้ายหมายเลขอย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงการนำมาห้อยกับกุญแจที่ใช้งานอยู่เป็นประจำด้วย   ขอขอบคุณข้อมูล : SANOOK 

254 16 ก.ย. 2567, 23:43

5 สิ่งต้องเช็ค ก่อนเดินทางไกล

ใกล้ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์กันแล้ว เพื่อนๆ หลายท่านอาจวางแผนเดินทางขับรถกลับภูมิลำเนา หรือท่องเที่ยวกันการตรวจเช็ครถนับเป็นเรื่องที่สำคัญในการเดินทางเลยทีเดียว     วันนี้ ID Drives มี 5 สิ่งที่ต้องเช็คก่อนเดินทางไกลมาฝากกันค่ะ 1.น้ำมันเครื่อง    ควรได้รับการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องเป็นประจำ เพื่อเช็คความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น และสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือกำหนดการในการเข้ารับบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อถึงระยะที่กำหนด เพราะน้ำมันเครื่องถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 2.แบตเตอรี่    อายุการใช้งานทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละท่าน รวมถึงในปัจจุบันแบตเตอรี่มีหลากหลายรูปแบบทั้งที่ต้องคอยตรวจเช็คอย่างแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่น ซึ่งต้องมั่นตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่มาตรฐานอยู่เสมอ หรือแบตเตอรี่แบบแห้งที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น เราอาจใช้วิธีการคอยมั่นตรวจเช็คสภาพโดยรวม และระยะเวลาการในใช้งานแบตเตอรี่ เพื่อเฝ้าระวังการเสื่อมของแบตเพื่อเปลี่ยนแบตลูกใหม่ให้พร้อมใช้งาน 3.หม้อน้ำ    เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราต้องคอยตรวจเช็คอยู่เสมอเช่นกัน การหมั่นสังเกตอยู่ตลอดไม่ว่าจะเป็นการสังเกตเกจ์วัดระดับความร้อนที่หน้าปัด หรือระดับน้ำในหม้อพักน้ำ ว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ เพื่อป้องกันการเกิดความร้อนเกินขีดจำกัด ที่จะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ได้ 4.ยางและลมยาง   เป็นสิ่งที่ควรหมั่นตรวจเช็คทุกสัปดาห์ ทั้งสภาพยางโดยรวม ระยะการใช้งาน รวมถึงสภาพดอกยาง และในเรื่องการเติมลมยางนั้น ควรเป็นไปตามคำแนะนำของรถในแต่ละรุ่น ซึ่งมีระบุไว้ที่บริเวณข้างประตู ทั้งนี้ในยามเดินทางการเติมลมยางควรมีการเติมไว้มากกว่าระดับปกติเพื่อการบรรทุก ซึ่งที่บริเวณข้างประตูของรถยนต์แต่ละรุ่นก็มีระบุไว้แล้วอย่างชัดเจน 5.เบรก    อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ควรหมั่นสังเกตและคอยดูแล ว่าผ้าเบรกหมดหรือไม่ มีความผิดปกติหรือเสียงที่ผิดแปลกไปในระบบเบรกหรือไม่ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบนำรถยนต์ไปตรวจสอบหาสาเหตุพร้อมแก้ไขในทันที   ขอขอบคุณข้อมูล : เยลโล่เซอร์วิส

215 16 ก.ย. 2567, 07:59

8 มีนาคม ของทุกๆ ปี คือ “วันสตรีสากล”

8 มีนาคม ของทุกๆ ปี คือ “วันสตรีสากล” (International women’s day) จะมีบรรดาผู้หญิงในหลายประเทศจากทุกทวีปรวมตัวกันเพื่อร่วมฉลอง และร่วมรำลึกการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิง อย่างไรก็ตามในหลายประเทศให้ความสำคัญของวันสตรีสากล วันนี้ทีมนิวมีเดียพีพีทีวี จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “วันสตรีสากล” ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ที่มา "วันสตรีสากล" เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ เพราะเหตุมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 จากนั้นในปี ค.ศ.1907  กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ต่อมา คลารา เซทคิน นักการเมืองผู้หญิงสังคมนิยมชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรผู้หญิงด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของคลารา เซทคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908  มีผู้หญิงหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรผู้หญิงกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนผู้หญิงจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วยทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของคลารา เซทคิน ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล "ดอกมิโมซ่าสีเหลือง" สัญลักษณ์แห่งวันสตรีสากล สัญลักษณ์ของวันสตรีสากล คือ "ดอกมิโมซ่าสีเหลือง" เป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนของความอ่อนโยนของผู้หญิง แต่ก็แข็งแกร่งในคราวเดียวกัน เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่เติบโตในช่วงฤดูหนาวท่ามกลางความหนาวเย็น แต่สามารถอยู่รอดจนผ่านฤดูหนาว และผลิดอกได้ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งตรงกับเดือนของวันสตรีสากลพอดีนั่นเอง นอกจากดอกมิโมซ่าสีเหลือง หลายประเทศในยุโรปก็ยังนิยมใช้ดอกทิวลิป ดอกกุหลาบ หรือดอกไม้ชนิดอื่นๆ มาเป็นสัญลักษณ์ ความสำคัญ และกิจกรรมในวันสตรีสากล ในวันสตรีสากลของทุกปี ทั่วโลกจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสิทธิสตรี ในสหรัฐอเมริกาจะมีการบริจาคเงินให้แก่องค์กร หรือหน่วยงานการกุศลที่สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือผู้หญิงในประเด็นต่างๆ ในขณะที่หลายประเทศทั่วยุโรป ผู้ชายจะนำดอกไม้ไปมอบให้ผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นแม่ เพื่อนผู้หญิง เพื่อนร่วมงาน หรือคนรัก เพื่อเป็นการขอบคุณผู้หญิงที่ต่อสู้เคียงข้างกัน และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม “วันสตรีสากล” กับประเทศไทย สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มให้ความการสนับสนุน “วันสตรีสากล” เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 โดยได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีผู้ใช้แรงงานและสตรีในสาขาอาชีพ ต่างๆ จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาส วันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา โดยในปีนี้ (2567) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ได้กำหนดแนวคิดในการจัดกิจกรรมปีนี้ว่า "เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจนสู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น" วันสตรีสากล ไม่ใช่เพียงวันธรรมดาวันหนึ่งบนปฏิทิน แต่คือวันที่เป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของผู้หญิงทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและโอกาสที่พวกเธอพึงมีเท่าเทียมกับผู้ชาย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการส่งเสริมสิทธิสตรีอย่างกว้างขวาง นับเป็นก้าวกระโดดสำคัญของสังคมยุคใหม่   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : pptvhd36

208 17 ก.ย. 2567, 00:34

Boreout, Brownout, Burnout Syndrome คืออะไร? ปัญหา Mental Health ที่ต้องเจอกันทุกออฟฟิศ

Boreout, Brownout, Burnout Syndrome คืออะไร? ปัญหา Mental Health ที่ต้องเจอกันทุกออฟฟิศ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่สูงขึ้น หลายคนพบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับสภาวะอารมณ์ที่หลากหลายอันเกี่ยวข้องกับงาน ทั้งความเครียด วิตกกังวล หรืออาจไปจนถึงขนาดเป็นโรคซึมเศร้า แต่สำหรับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศแล้ว คงหนีไม่พ้น ‘ภาวะเบื่องาน หมดใจ หมดไฟ’  (Boreout, Brownout, Burnout Syndrome) ทราบหรือไม่ว่าภาวะเบื่องานมีหลายระดับ และก็ส่งผลต่อสภาวะจิตใจเราแตกต่างกัน วันนี้ชวนคุณไปเช็คกันหน่อยว่าคุณอยู่ในระดับไหน พร้อมเทคนิคดี ๆ ในการเติมไฟในการทำงานด้วย Image Credit: by azerbaijan_stockers on Freepik   1. Burnout Syndrome Burnout Syndrome  “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” คือ สภาวะความเหนื่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์เรื้อรังที่เกิดจากความเครียดที่มากเกินไปและยาวนาน อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงภาระงานที่สูง การขาดการควบคุมงานของตน การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานไม่เพียงพอ และ ขาดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน นอกจากนี้ การขาดการยอมรับหรือรางวัลสำหรับความพยายามของตนเองอาจส่งผลต่อความรู้สึกเหนื่อยหน่ายได้ มักมีอาการ เช่น รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย, มองโลกในแง่ร้าย, ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน, คลื่นไส้ เวียนหัว อยากอาเจียน ปวดท้อง, ทำงานช้าและคุณภาพของงานลดลง 2. Boreout Syndrome Boreout Syndrome “ภาวะเบื่องาน” เป็นภาวะทางจิตที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลไม่ได้รับการตอบสนองมากเกินไปหรือไม่มีใครสนใจในสภาพแวดล้อมการทำงานของตน มักจะประสบกับความเครียดและความเหนื่อยล้าอย่างท่วมท้น จนสามารถนำไปสู่ความรู้สึกคับข้องใจ ความไม่พอใจ และความไม่มีส่วนร่วมในที่ทำงานได้ รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานและแรงจูงใจลดลง มีลักษณะอาการ เช่น เบื่อไม่อยากมาทำงานที่ได้รับมอบหมาย, รู้สึกไม่ภาคภูมิใจในการทำงาน, มองหางานใหม่อยู่ตลอดเวลา, ฝืนตัวเองเพื่อตื่นมาทำงานทุกวัน 3. Brownout Syndrome Brownout Syndrome “ภาวะหมดใจในการทำงาน” ซึ่งเป็นภาวะรุนแรงที่สุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากหัวหน้ามีความคาดหวังต่อเราสูง และกดดันให้เราทำตามที่เขาต้องการ กลายเป็นการทำงานที่ขาดแรงจูงใจในการทำงาน และไม่เข้าใจว่าทำไปเพื่ออะไร ผลที่ตามมาคือการ Quite Quitting หรือการลาออกแบบเงียบ ๆ ไปนั่นเอง มักมีอาการ เช่น มาทำงานสายโดยตั้งใจ, ขาดงานโดยไม่รู้สึกผิด, อยากลาทุกวัน, ไม่พร้อมรับผิดชอบงาน, ลาออกได้ทุกเมื่อ, ไม่รู้สึกภาคภูมิใจในงานที่ทำ   มาเช็ควิธีเติมไฟกันหน่อย Image Credit: by azerbaijan_stockers on Freepik ทำ Check list: โดยทำลิสต์รายการที่ต้องทำในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ หรือเป้าหมายใหญ่รายเดือน รายปีเอาไว้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของงานว่าต้องทำอะไรบ้าง มีเป้าหมายความตั้งใจในการทำงานเพิ่มขึ้น มีสิ่งให้รับผิดชอบ แล้วเราจะกระตือรือร้นขึ้นอีกด้วย รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น: ด้วยนโยบาย Work Form Home, Work Life Balance หรือ Work Life Integration เพื่อไม่ให้พนักงานทำแต่งานเพียงอย่างเดียว จนไม่ได้ใช้ชีวิตส่วนตัว และสนับสนุนให้พนักงานพักผ่อน/ ใช้วันลา ในช่วงเวลาอันเหมาะสม เพื่อ Refresh ให้ทั้งร่างกายและจิตใจได้พักผ่อน พร้อมในการทำงานต่อไป ให้รางวัลตัวเอง: ไม่เพียงแค่เป็นการเลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน แต่เรื่องง่ายๆ ที่ทำได้ เช่น กินชาบู เนื้อย่าง หมูกระทะ ไปคาเฟ่ ดูหนัง หรือทานอาหารที่อยากกินในวันหยุดสุดสัปดาห์ จัดการ Workload ให้เหมาะสม: ในองค์กรต้องจัดการ Workload และ Deadline ให้สมเหตุสมผล ป้องกันการมีงานในมือจำนวนมากในช่วงเวลานาน หาทางออกโดยการหาพนักงานภายนอกมาช่วย เช่น จ้างงานแบบ Contract ตามช่วงเวลาที่งานจะหนัก หรือหานักศึกษาฝึกงาน อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น: ทุกคนมีข้อดีข้อเสียในแบบของตัวเอง การนำความสำเร็จของคนอื่นมาเป็นบรรทัดฐานในการทำงาน นอกจากจะเครียดแล้วยังไม่ได้ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย ชื่นชมยินดีอย่างจริงใจ: หากพนักงานสร้างผลงานได้โดดเด่น ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก หรือใหญ่ องค์กรควรมี Action ให้เห็นถึงความสำเร็จนั้น และมี Role Model เพื่อเป็นแบบอย่างให้พนักงานทำตามอย่างสบายใจ สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตร: เริ่มจากหัวหน้างานต้องหมั่นสังเกต สอบถาม พูดคุยความกังวลของพนักงาน ทั้งเรื่องงานหรือแม้เรื่องส่วนตัว ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แต่สามารถทำให้เป็นจริงได้ไม่ได้สร้างความกดดันให้ทีมมากเกินไป มีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานเสริมสร้างความความพันธ์ ยิ้ม ไหว้ ทักทาย สร้างบรรยากาศที่เป็นบวกให้แก่องค์กร น่ามาทำงานมากขึ้น   Image Credit: by azerbaijan_stockers on Freepik   ‘ภาวะเบื่องาน หมดใจ หมดไฟ’  (Boreout, Brownout, Burnout Syndrome) แก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษกับร่างกายและจิตใจ เปลี่ยนมุมคิด ปรับมุมมอง จาก Toxic People ให้เป็น Positive People ให้ได้ ทัศนคติในการมองปัญหาคือสิ่งสำคัญ ที่จะลดความเครียดในการทำงานลงได้ มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ ยังเป็นคำที่ใช้ได้เสมอ จงอย่าตกเป็น ‘เหยื่อ’ ของคำว่า ‘เบื่อ’ เพียงมีสติ รู้เท่าทันตัวเอง ถอยออกมาดูสถานการณ์จากภาพรวม ก็จะทำให้เราประเมินได้ว่าควรจะก้าวเดินต่อไปอย่างไร วันนี้ บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด จะพามาเช็กตรวจสุขภาพใจ  MENTAL HEALTH CHECK IN เรามาทดสอบตามลิ้งค์ นี้กันค่ะ https://checkin.dmh.go.th/   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : lifestyleasia ขอขอบคุณแบบทดสอบจาก : กรมสุขภาพจิต

251 16 ก.ย. 2567, 05:45

ยกทั้ง 'อีสาน' โกอินเตอร์ ฮับท่องเที่ยวสายมู 418 แห่ง

ยกทั้ง 'อีสาน' โกอินเตอร์ ฮับท่องเที่ยวสายมู 418 แห่ง รับเทรนด์ตลาดมูทั่วโลกโต 1.4 ล้านล้าน การท่องเที่ยวเชิงศรัทธาทั่วโลก (Faith-based Tourism) และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Tourism) หรือ 'การท่องเที่ยวสายมู' กำลังจะบูมเรื่อยๆ ตอนนี้เทรนด์การท่องเที่ยวสายมูทั่วโลกมีมูลค่าตลาดล่าสุดอยู่ที่ 5 แสนล้านบาท แต่อนาคตอันสดใสของการท่องเที่ยวเพื่อความมูนี้ จะเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 1.4 ล้านล้านบาท ในปี 2576 หรืออีก 9 ปี ข้างหน้า แปลว่าท่องเที่ยวสายมูทั่วโลกจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 10.2% หรือเกือบ 3 เท่าตัว ภายในระยะเวลาไม่ถึงทศวรรษจากนี้ โดยกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมเที่ยวสายมู คือ คนจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และอินเดีย และนี่ก็จะเป็นโอกาสของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั่นเอง ตอนนี้ถ้าถามว่าการท่องเที่ยวสายมูของไทยจังหวัดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จะอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดอุดรธานี นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ และหนองคาย ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส มองว่านี่จะเป็นความหวังใหม่ของการท่องเที่ยวในภาคอีสานเลยทีเดียว เนื่องจากมีการวิเคราะห์กันแล้วว่า ภาคอีสานมีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวสายมู ทั้งในรูปแบบของสถานที่ท่องเที่ยว และเส้นทางในการท่องเที่ยว ข้อมูลจาก Isan Insight & Outlook ชี้ว่า ปัจจุบันจำนวนสถานที่ท่องเที่ยวสายมูในภาคอีสานอยู่ที่ 418 แห่ง มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเส้นทางท่องเที่ยวสายมูเกือบ 20 แห่ง โดยจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสายมูมากที่สุดในภาคอีสาน คือ อุดรธานี จำนวน 43 แห่ง อาทิ คำชะโนด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสายมูที่มีชื่อเสียงอันดับต้นของประเทศไทย น่าสนใจว่าสถานที่ท่องเที่ยวสายมูส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งตอนนี้หนึ่งในรูปแบบสถานที่ท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากเลย คือ ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค เห็นได้จากการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับพญานาคในอีสานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ถ้ำนาคา บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ข้อมูลในปี 2565 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเที่ยวถ้ำนาคา 220,000 คน และบึงโขงหลงมากถึง 400,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2564 การท่องเที่ยวสายมูที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ในภาคอีสาน ที่มีเรื่องราว อัตลักษณ์และวิถีชีวิตท้องถิ่นของคนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีคติความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นจุดที่เรียกความสนใจให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวสายมูได้ดีทั้งใน จ.อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ และหนองคาย ซึ่งเป็นจุดที่ดึงคนไทยและชาวต่างชาติมาที่ภาคอีสานได้มากขึ้น จะเห็นว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวสายมู จะมีส่วนทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวในอีสานสูงขึ้น ถ้าดูจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2562 ประเทศไทยมีเงินหมุนเวียนจากการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาสูงถึง 10,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.36% ของมูลค่าการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ แม้แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เองก็คาดว่า การท่องเที่ยวสายมูจะช่วยสร้างเงินหมุนเวียนในประเทศสูงถึง 15,000 ล้านบาทด้วย   ขอขอบคุณข้อมูล: #TODAYBizview

253 15 ก.ย. 2567, 12:12


Scroll to Top