บทความและความรู้


ยกทั้ง 'อีสาน' โกอินเตอร์ ฮับท่องเที่ยวสายมู 418 แห่ง

ยกทั้ง 'อีสาน' โกอินเตอร์ ฮับท่องเที่ยวสายมู 418 แห่ง รับเทรนด์ตลาดมูทั่วโลกโต 1.4 ล้านล้าน การท่องเที่ยวเชิงศรัทธาทั่วโลก (Faith-based Tourism) และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Tourism) หรือ 'การท่องเที่ยวสายมู' กำลังจะบูมเรื่อยๆ ตอนนี้เทรนด์การท่องเที่ยวสายมูทั่วโลกมีมูลค่าตลาดล่าสุดอยู่ที่ 5 แสนล้านบาท แต่อนาคตอันสดใสของการท่องเที่ยวเพื่อความมูนี้ จะเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 1.4 ล้านล้านบาท ในปี 2576 หรืออีก 9 ปี ข้างหน้า แปลว่าท่องเที่ยวสายมูทั่วโลกจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 10.2% หรือเกือบ 3 เท่าตัว ภายในระยะเวลาไม่ถึงทศวรรษจากนี้ โดยกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมเที่ยวสายมู คือ คนจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และอินเดีย และนี่ก็จะเป็นโอกาสของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั่นเอง ตอนนี้ถ้าถามว่าการท่องเที่ยวสายมูของไทยจังหวัดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จะอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดอุดรธานี นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ และหนองคาย ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส มองว่านี่จะเป็นความหวังใหม่ของการท่องเที่ยวในภาคอีสานเลยทีเดียว เนื่องจากมีการวิเคราะห์กันแล้วว่า ภาคอีสานมีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวสายมู ทั้งในรูปแบบของสถานที่ท่องเที่ยว และเส้นทางในการท่องเที่ยว ข้อมูลจาก Isan Insight & Outlook ชี้ว่า ปัจจุบันจำนวนสถานที่ท่องเที่ยวสายมูในภาคอีสานอยู่ที่ 418 แห่ง มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเส้นทางท่องเที่ยวสายมูเกือบ 20 แห่ง โดยจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสายมูมากที่สุดในภาคอีสาน คือ อุดรธานี จำนวน 43 แห่ง อาทิ คำชะโนด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสายมูที่มีชื่อเสียงอันดับต้นของประเทศไทย น่าสนใจว่าสถานที่ท่องเที่ยวสายมูส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งตอนนี้หนึ่งในรูปแบบสถานที่ท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากเลย คือ ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค เห็นได้จากการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับพญานาคในอีสานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ถ้ำนาคา บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ข้อมูลในปี 2565 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเที่ยวถ้ำนาคา 220,000 คน และบึงโขงหลงมากถึง 400,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2564 การท่องเที่ยวสายมูที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ในภาคอีสาน ที่มีเรื่องราว อัตลักษณ์และวิถีชีวิตท้องถิ่นของคนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีคติความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นจุดที่เรียกความสนใจให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวสายมูได้ดีทั้งใน จ.อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ และหนองคาย ซึ่งเป็นจุดที่ดึงคนไทยและชาวต่างชาติมาที่ภาคอีสานได้มากขึ้น จะเห็นว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวสายมู จะมีส่วนทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวในอีสานสูงขึ้น ถ้าดูจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2562 ประเทศไทยมีเงินหมุนเวียนจากการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาสูงถึง 10,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.36% ของมูลค่าการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ แม้แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เองก็คาดว่า การท่องเที่ยวสายมูจะช่วยสร้างเงินหมุนเวียนในประเทศสูงถึง 15,000 ล้านบาทด้วย   ขอขอบคุณข้อมูล: #TODAYBizview

370 21 พ.ย. 2567, 17:11

สนใจยอดจนละเลยสังคม ?

สนใจยอดจนละเลยสังคม? ไทยมี 'อินฟลู' 2 ล้าน แข่งกันทำคอนเท้นต์ สภาพัฒน์ห่วง 4 ประเด็น คือ เฟคนิวส์ พนันออนไลน์ ละเมิดสิทธิ สร้างค่านิยมอวดรวยให้เยาวชน รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2566 ของสภาพัฒน์ อธิบายถึงสถานการณ์ 'Influencer เมื่อทุกคนในสังคมล้วนเป็นสื่อ' เอาไว้ว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวน 'อินฟลูเอนเซอร์' กว่า 2 ล้านคน เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มอาเซียนรองจากอินโดนีเซียอันดับ 1 โดย 'อินฟลูเอนเซอร์' หมายถึง บุคคลทั่วไปที่มีอิทธิพลต่อความคิดและมีกลุ่มผู้ติดตามจำนวนมาก โดยจะนำเสนอเนื้อหา (content) ดึงดูดผู้คนให้เข้ามามีส่วนร่วม (engagement) อย่างกดไลก์ กดแชร์ แสดงความคิดเห็น ตอนนี้ 'อินฟลูเอนเซอร์' กลายเป็นอาชีพที่เด็กๆ หลายคนฝันอยากเป็น เพราะสามารถสร้างรายได้ค่อนข้างสูง จากการโฆษณาสินค้าและรีวิวสินค้า เริ่มตั้งแต่โพสต์ละ 800 จนถึงโพสต์ละ 700,000 บาทก็มี แต่เพราะ 'อินฟลูเอนเซอร์' ต้องให้ความสำคัญกับ การแข่งขันกันทำ content ให้ความสำคัญกับ engagement ส่วนหนึ่งจึงกลายเป็นการสร้างคอนเทนต์ โดยไม่คำนึงถึง 'ความถูกต้อง' ของเนื้อหาก่อนเผยแพร่ [ สภาพัฒน์ห่วงข่าวปลอม-พนัน-ละเมิดสิทธิ-สร้างค่านิยมอวดรวย ] โดย 'สภาพัฒน์' ยกตัวอย่างเนื้อหาที่สร้างผลกระทบใน 'ทางลบ' ต่อสังคม 4 เรื่อง 1) นำเสนอข้อมูลเท็จ ข่าวปลอม ไม่เป็นจริง พบผู้โพสต์เข้าข่ายข่าวปลอม 7,394 บัญชี เป็นข่าวปลอมและข่าวบิดเบือนรวมกว่า 5 พันเรื่อง และเป็นเรื่อง 'สุขภาพ' มากถึง 2,213 เรื่อง อย่างเช่นกรณี 'อินฟลูเอนเซอร์' เผยข้อมูล 'สูตรสมุนไพรล้างไต' ว่าน้ำต้มข่า ตะไคร้ และใบเตย ถ้าดื่มติดต่อกัน 7 วัน เว้น 7 วัน จะช่วยล้างไตและขับปัสสาวะได้ 2) ชักจูง-ชวนเชื่อผิดกฎหมาย 'พนันออนไลน์' ตอนนี้คนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์กว่า 3 ล้านคน โดย 7 ใน 4 หรือราว 7.4 แสนคนเป็น 'นักพนันหน้าใหม่' โดย 87.7% พบการโฆษณาหรือได้รับการชักชวนทางออนไลน์ กระทบแล้วกว่า 1 ล้านคน สะท้อนการโฆษณาเว็บพนันออนไลน์ผ่าน 'อินฟลูเอนเซอร์' บางส่วน 3) ละเมิดสิทธิ บุคคล-เนื้อหา แบ่งเป็นปัญหา 'ข้อมูล' ละเมิดสิทธิ เพราะนำข้อมูล ภาพ หรือวิดีโอของคนอื่นมาตัดต่อลงคอนเทนต์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีแหล่งที่มาที่ถูกต้อง และอีกรูปแบบคือ ละเมิดสิทธิผ่านการนำเสนอ อย่างการนำเสนอข่าวอาชญากรรมราวกับละคร สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ แต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้เสียหายหรือคนใกล้ชิด 4) สร้างค่านิยม 'อวดรวย' 'อินฟลูเอนเซอร์' บางส่วนชอบเนื้อหาอวดความร่ำรวย และเช่นเดียวกันผู้บริโภคบางส่วนก็ชอบเช่นเดียวกัน โดยผู้บริโภคกว่า 51.2% ชอบการอวดแบบเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ยอดนิยมอย่างอวดสินค้าแบรนด์เนม การบริการประทับใจ และไลฟ์สไตล์ รวมถึงการแต่งภาพให้ดูดีเกินจริงกลายเป็น Unrealistic Beauty Standards ที่สภาพัฒน์บอกว่า อาจสร้างค่านิยมที่ผิดให้กัยเยาวชน และนำไปสู่การก่อหนี้มาซื้อสินค้าและบริการ [ ต่างประเทศมี 'กฎหมายอินฟลู' สร้างบรรทัดฐาน ] ในต่างประเทศหลายประเทศมี 'กฎหมายอินฟลูเอนเซอร์' ที่ความเข้มงวดจะแตกต่างกันออกไป  จีน : ห้ามเผยแพร่เนื้อหาอวดความร่ำรวย และการใช้ชีวิตแบบกินหรูอยู่สบายเกินจริง อย่างโชว์เงินสด รถยนต์หรูหรา และการกินอาหารแบบทิ้งขว้าง UAE : ออกกฎหมายให้ผู้ที่เป็น Infuencer จะต้องจดทะเบียน และได้รับใบอนุญาตจากสภาสื่อแห่งชาติ (NMC) ป้องกันการโฆษณาเนื้อหาหรือกิจกรรม ที่ผิดกฎหมายบนโซเชียลมีเดีย นอร์เวย์ : ออกกฎหมายกำหนดให้ Influencer ต้องแจ้งรายละเอียดภาพบุคคลที่ใช้สำหรับการขายและโฆษณาสินค้าบนโซเชียลมีเดีย ต่อหน่วยงานรัฐ นอกจากนั้น ยังกำหนดให้แสดงเครื่องหมายกำกับลงบนภาพหากผ่านการปรับแต่ง ลดปัญหาความกดดันทางสังคมต่อมาตรฐานความงามที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน  สหราชอาณาจักร : อยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎหมายสำหรับรูปภาพที่ผ่านการปรับแต่งดิจิทัล (Digitally Altered Body Image Bill) กำหนดให้ผู้โฆษณา ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ รวมถึง Influencer ต้องแสดงเครื่องหมายลงบนภาพ ที่ได้มีการปรับแต่งส่วนหนึ่งส่วนใดบนร่างกาย ส่วน 'ไทย' ยังไมมีกำหนดกฎระเบียบสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ที่ชัดเจน โดยตอนนี้มีแต่ พ.ร.บ. คอมฯ หรือ พ.ร.บ. คุ้มคอรงผู้บริโภค และอยู่ระหว่างร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน แต่ถ้าจะขยายขอบเขตออกไป อาจต้องกำหนดนิยามสื่อออนไลน์และการกำกับดูแลใหม่ สภาพัฒน์อธิบาย   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : TODAYBizview

311 21 พ.ย. 2567, 17:11

เช็กก่อนขับ โรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่

เช็กก่อนขับ โรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่      อุบัติเหตุทางรถยนต์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขับด้วยความประมาท เมาแล้วขับ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพของผู้ขับขี่ที่ทำให้ไม่สามารถที่จะควบคุมรถได้ เห็นได้จากการที่ทำใบอนุญาตขับขี่จะต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อเป็นการยืนยันว่าเราสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคร้ายแรงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเมื่อขับขี่รถได้ แล้วโรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่ มีโรคหรืออาการใดบ้าง วันนี้ บริษัท ID Drives จำกัด มีคำตอบมาฝากกันค่ะ รวมโรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่ มีอะไรบ้าง 1. โรคที่เกี่ยวกับสายตา      สำหรับผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับสายตา อาจส่งผลทำให้การขับรถในช่วงเวลากลางคืนมองเห็นทัศนียภาพเส้นทางต่างๆ ได้ไม่ดีนัก การมองเห็นแสงไฟพร่ามัว รวมไปถึงทำให้มุมมองสายตาแคบลง ไม่ว่าจะเป็นอาการจอประสาทตาเสื่อม ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น    2. อาการหลงลืม      สำหรับผู้ที่มีอาการหลงลืมโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่จะจดจำเส้นทางไม่ได้ อาการที่ส่งผลให้การตัดสินใจเร่งด่วนได้ยากลำบาก ตัดสินใจช้า ไม่มีสมาธิในการขับขี่ ซึ่งอาจทำให้ขับรถได้อย่างไม่ปลอดภัยนั้นเอง 3. อาการปวดข้อ ปวดกระดูก      โรคหรืออาการที่เกิดจากการปวดข้อ ปวดกระดูก หรือข้ออักเสบต่างๆ เหล่านี้มักจะมีผลกระทบต่อการขับรถโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการปวดตามข้อต่างๆ เมื่อต้องนังขับรถเป็นระยะเวลานาน การหันมองกระจกข้างได้ลำบากเนื่องจากกระดูคอที่เสื่อม รวมไปถึงการเหยียบคันเร่งที่ไม่เต็มที่เนื่องจากกระดูกข้อเข่าเสื่อมสภาพ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 4. โรคพาร์กินสัน      สำหรับโรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น เคลื่อนไหวได้ช้าลง ทรงตัวได้ลำบาก ตัดสินใจได้ช้าลง ซึ่งหากขับขี่รถยนต์ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้  5.  โรคหัวใจ      สำหรับโรคหัวใจ เป็นโรคที่จะทำให้ผู้ขับขี่รถมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอกขณะขับรถได้ เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์การขับรถนานๆ อาจเกิดความเครียด ความกดดันจากรถติด หรือปัญหาการจราจร จนทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกขณะขับรถได้ 6. โรคลมชัก      โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดการเกร็งชัก และกระตุกโดยที่ไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาพหลอน หูแว่ว หรือหัวใจเต้นผิดปกติอีกด้วย 7. โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้)      ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารควบคุมได้ หากปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ไปจนถึงขั้นหมดสติได้ จะทำให้ความสามารถในการขับขี่นั้นลดตามลงไปด้วย หากขับรถก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 8. โรคหลอดเลือดในสมอง      โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นภาวะที่สมองขาดเลือด หรืออาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้ความไวในการตอบสนองช้าลง ไม่มีแรงในการบังคับพวงมาลัยหรือเปลี่ยนเกีย แขนขานั้นไม่มีแรงขับรถ หรือ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก บางคนนั้นอาจมีการเกร็งและชักกระตุก หรือ ขากระตุก  9. มีอาการป่วย ต้องทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึม      สำหรับผู้ที่มีอาการป่วย ต้องทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึมเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการหลับในมึนงงและสับสนขณะขับรถ รวมไปจนถึงการตัดสินใจต่างๆ และสมาธิในการขับรถก็ลดลงไปด้วย   ขอขอบคุณข้อมูลจาก :   TQM

380 20 พ.ย. 2567, 19:31

ขี่มอเตอร์ไซค์ ทำตามนี้… ขี่ง่าย ปลอดภัยขึ้นเยอะ

ขี่มอเตอร์ไซค์ ทำตามนี้… ขี่ง่าย ปลอดภัยขึ้นเยอะ การขี่มอเตอร์ไซค์ให้ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้  วันนี้ บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด จะมาแนะนำบางเคล็ดลับ ที่สามารถช่วยให้การขับขี่มอเตอร์ไซค์ของคุณปลอดภัยขึ้น ขับรถมอเตอร์ไซค์ลุยน้ำ อย่างปลอดภัย เมื่อรถมอเตอร์ไซค์ต้องลุยน้ำ ขับขี่อย่างไรจึงจะปลอดภัย ระดับน้ำต้องสูงไม่เกิน 1 ฟุตจากพื้นถนน ห้ามท่วมถึงกรองอากาศ หรือสูงเกินท่อไอเสีย ผู้ขับขี่ต้องมีทักษะการขับขี่ที่ดีโดยคำนึงความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมทาง ดังนี้ ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็วสูง ให้ใช้เกียร์ต่ำ รักษาความเร็วให้คงที่ในระหว่างลุยน้ำ เพราะพื้นถนนอาจมีหลุมบ่อที่ผู้ขับขี่มองไม่เห็น อาจเกิดอุบัติเหตุได้ หากเครื่องยนต์ดับ ห้ามสตาร์ทรถโดยเด็ดขาดให้รีบเข็นไปไว้บนที่แห้ง แล้วทำการตรวจเช็ก และระบายน้ำออกจากท่อไอเสียด้วยการสตาร์ทเครื่องและเร่งเครื่องไว้สัก 3-5 นาที ให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนแล้วจึงขับต่อไปได้ อย่าเพิ่งดับเครื่องยนต์เมื่อถึงที่หมาย ให้ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ เพื่อให้ความร้อนในท่อไอเสียไล่น้ำออกจากระบบ ช่วยลดการเกิดสนิมในท่อไอเสีย ช่วยรักษาเครื่องยนต์ หลังลุยน้ำ ผู้ขับขี่สามารถตรวจสภาพรถเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยปัญหาที่มักเกิดขึ้น คือ น้ำมันโซ่แห้ง จากการโดนน้ำเป็นระยะเวลานาน ควรรีบหยอดน้ำมันเพื่อเป็นการถนอมโซ่และความปลอดภัยในการขับขี่ 5 วิธี ขับขี่รถจักรยานยนต์ทางโค้ง เทคนิคการเข้าโค้งที่ถูกต้อง เป็นอีกสิ่งที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีความจำเป็นต้องรู้และฝึกฝนให้ชำนาญ เพราะจะส่งผลเป็นอย่างมากต่อความปลอดภัย จึงรวบรวมเทคนิคการขับขี่รถจักรยานยนต์ทางโค้ง 5 วิธีที่ถูกต้องและปลอดภัย มาฝากกัน ใช้สายตามองถนน เพื่อประเมินทาง สังเกตสภาพพื้นผิวถนน ขับขี่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ลดความเร็วลงก่อนเข้าโค้ง กรณีเป็นเกียร์ธรรมดาให้เปลี่ยนเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เอียงตัวและรถไปในองศาเดียวกันตามทิศทางของทางโค้ง หากเป็นโค้งที่คับแคบ หรือเข้าโค้งด้วยความเร็วควรจะเอียงตัวรถให้พอเหมาะเพื่อสร้างสมดุล ส่วนโค้งง่ายๆ หรือขับขี่ด้วยความเร็วไม่มาก ไม่จำเป็นต้องเอียงรถมากเกินไป อาจทำให้รถเสียหลักลื่นไถลได้ เท้าทั้งสองข้างวางอยู่บนที่พักเท้าตลอดเวลา หัวเข่าแนบชิดถังน้ำมันตั้งศีรษะให้ตรงเพื่อช่วยสร้างสมดุล เมื่อรถเริ่มวิ่งผ่านโค้งค่อยๆ เร่งเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวล เพื่อช่วยพยุงรถให้ตั้งตรงอย่างปลอดภัย ห้ามบีบคลัตช์ขณะเข้าโค้ง เมื่อเข้าโค้งบนถนนที่เปียกหรือลื่น ควรเข้าโค้งอย่างช้าๆ ทุกครั้งอย่าลืมใส่หมวกกันน็อค – 69% ช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บศีรษะและสมอง – 39% ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของคนขับ และคนซ้อนท้าย การขับขี่รถจักรยานยนต์ บนทางลาดชัน เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น ชวนมาเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ การขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางลาดชัน เมื่อเดินทางขึ้นหรือลงเนินเขา ผู้ขับขี่ควรปรับความเร็วของรถ เลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสมและควบคุมเบรกโดยวิธีที่แตกต่างจากการขับขี่บนทางเรียบ การขับขึ้นทางลาดชัน • เลือกเกียร์ที่เหมาะสมเพื่อขึ้นเนิน • โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ปรับความเร็วโดยบังคับคันเร่ง • เมื่อเครื่องเร่งไม่ขึ้น ลดเกียร์ให้ต่ำลงก่อนที่เครื่องยนต์จะกระตุก • ขี่รถขึ้นยอดเนินอย่างช้าๆ เนื่องจากเรามองไม่เห็นทัศวิสัยข้างหน้า การขับลงทางลาดชัน • เลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสมเมื่อขับขี่ลงจากเนิน เอนตัวไปข้างหลังเล็กน้อย • ใช้ทั้งเบรกตามปกติและเน้นในการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรกควบคู่กันเมื่อขับรถลงจากเนินเขา • ไม่ควรเบรกค้างไว้บ่อยๆ เพราะจะทำให้เบรกไหม้และเบรกไม่อยู่ • ถ้าต้องการเบรก ควรใช้วิธีย้ำเบรกเป็นระยะๆ หรือใช้เกียร์ต่ำแทนจะเหมาะกว่า การขับขี่รถจักรยานยนต์ เวลากลางคืน การขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องปลอดภัยทุกเวลา ไม่ว่ากลางคืนหรือกลางคืน วันนี้เราจึงนำเทคนิคขับขี่รถจักรยานยนต์ตอนกลางคืน มาฝากผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังมากขึ้น เตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง – ศึกษาเส้นทางล่วงหน้า และเช็กสภาพอากาศ – เช็กระบบไฟส่องสว่างให้พร้อมใช้งานทุกดวง – หลีกเลี่ยงหรืองดยาที่ทำให้มีอาการง่วงซึม – สวมเสื้อผ้าและหมวกกันน็อคสีสดใส เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน ขับขี่ด้วยความเร็วที่เหมาะสม สามารถหยุดรถได้ทันอย่าปลอดภัย – สังเกตเส้นทาง มองให้ดี – ระมัดระวังทางแยก หรือทางเลี้ยวต่างๆ ควรชะลอความเร็ว – ไม่ควรอยู่ในจุดบอดของรถคันหน้า – ไม่เปลี่ยนช่องทางเดินรถกะทันหัน ในเวลากลางคืน ความสามารถในการมองเห็นระยะทางข้างหน้าจะลดน้อยลง ดังนั้น หากต้องขับผ่านเส้นทางที่มืดมากๆ ให้เปิดไฟสูง เมื่อมีรถสวนเลนมาค่อยปรับเปิดไฟต่ำ ดื่มไม่ขับ เมาไม่ขับ  ทุกครั้งอย่าลืมใส่หมวกกันน็อค   การขับขี่รถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนจะมีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากการเรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคการขับขี่ การเลือกสวมใส่เครื่องแต่งกายให้เหมาะสมก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะหมวกนิรภัยจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงให้ผู้ขับขี่ หมวกนิรภัย ผู้ขับขี่และผู้ช้อนท้ายต้องสวมใส่หมวกนิรภัยที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก มอก. ในขณะขับขี่รถทุกครั้ง ใส่สายรัดคางให้แน่นกระชับพอดี ไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไป โดยปกติสามารถใช้นิ้วชี้สอดเข้าไปใต้คางได้พอดี ประเภทของหมวกนิรภัย – หมวกนิรภัยแบบเต็มใบปิดหน้า – หมวกนิรภัยแบบเต็มใบเปิดหน้า – หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ การใส่หมวกกันน็อคควรรัดคางในระดับที่พอดีทุกครั้งทั้งคนขับและคนซ้อนท้าย ไม่ว่าจะขับขี่ในระยะทางใกล้หรือไกล ลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยให้ตัวคุณและคนที่คุณรัก   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ขับขี่ปลอดภัย by DLT

283 19 พ.ย. 2567, 21:11

เช็กก่อนเชื่อ! รัฐบาล เปิดชื่อ 6 หน่วยงานที่ มิจฉาชีพชอบแอบอ้าง เตือนประชาชน อย่าหลงกล ระวังถูกดูดเงินในบัญชี

วันที่ 29 ก.พ. 67 นาย คารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้รับการร้องทุกข์จากผู้เสียหายหลายรายว่า ได้รับข้อความสั้น (SMS) หรือได้รับสายโทรศัพท์จาก มิจฉาชีพ ซึ่งแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน สร้างความน่าเชื่อถือ ออกอุบายต่างๆ  เพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน หรือโอนเงินไปตรวจสอบ หรือกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชั่นของหน่วยงานเหล่านั้น ซึ่งมิจฉาชีพได้สร้างปลอมขึ้นมา เป็นเหตุให้เงินของผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพโอนออกไปจนหมดบัญชี  นายคารม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ย้ำเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ จากข้อมูล พบว่าหน่วยงานที่มิจฉาชีพมักนำมาแอบอ้าง 6 หน่วยงาน ดังนี้  1.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : เงินชดเชยแปลงไฟฟ้า-ค่า FT 2.กรมที่ดิน : อัปเดตสถานะที่ดิน 3.สำนักงานประกันสังคม : อัปเดตข้อมูล-โอนค่าประกันโควิด 4.Flash Express : เคลมพัสดุเสียหาย 5.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : อัปเดตข้อมูล-ยกเลิกโครงการของรัฐ 6.กรมบัญชีกลาง : ทำเรื่องค่ารักษาพยาบาล  “ขอย้ำว่า ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ไม่มีนโยบายโทรศัพท์ หรือส่ง SMS ไปหาประชาชน ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ขอให้มีสติอย่าหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ” นาย คารม กล่าว   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : nbt2hd  

132 14 พ.ย. 2567, 23:31


Scroll to Top