บทความและความรู้


ตรอ. คืออะไร ? ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี

ตรอ. คืออะไร ? ทำไมต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษี หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องตรวจสภาพรถทุกปี เพื่ออะไรและถ้าจะตรวจต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด จะพามาทำความรู้จักว่า  ตรอ. คืออะไร ?  ตรอ. ย่อมาจากคำว่า  #สถานตรวจสภาพรถเอกชน ซึ่งเป็นสถานที่ ที่เปิดให้ผู้ใช้รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์นำรถของตนเองเข้ามาตรวจสภาพรถก่อนจะนำไปต่อภาษีได้ในกรณีที่ไม่สะดวกนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งทางบกนั่นเองค่ะ เหมาะสำหรับคนที่มีบ้านไกล หรือไม่สะดวกขับรถไกลๆ และสถานตรวจสภาพรถที่มีสัญลักษณ์ ตรอ. ก็แสดงว่าได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบกเรียบร้อยแล้วค่ะ นอกจากนี้ การตรวจ ตรอ. คือสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากเป็นการตรวจเพื่อรับรองว่ายานพาหนะที่ใช้นั้นมีความปลอดภัย มีสภาพที่พร้อมใช้งานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้        การตรวจสภาพรถยนต์คือสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องทำเป็นประจำอยู่แล้ว เพื่อให้รถอยู่ในสภาพดีและยังเป็นการยืดอายุการใช้งานของรถอีกด้วย โดยปกติแล้วการตรวจสภาพรถยนต์จะต้องตรวจเช็กตามระยะทางการใช้งานหรืออายุการใช้งานของรถ แต่เมื่อรถยนต์มีอายุการใช้งานที่มากขึ้น ตามกฎหมายกำหนดว่าจะต้องให้เจ้าของรถนำรถไปตรวจสภาพทุกปีก่อนจึงจะสามารถต่อภาษีหรือพ.ร.บ. รถยนต์ได้ การตรวจแบบนี้ หลายๆ คนมักจะเรียกกันว่า ตรวจตรอ. วันนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์จึงจะพาทุกคนไปรู้จักกับการตรวจสภาพรถยนต์เพื่อต่อภาษีประจำปี (ตรอ.) พร้อมบอกขั้นตอนและวิธีการเตรียมตัวในการตรวจ ตรอ. ให้พร้อมกันเลยค่ะ รถกี่ปีต้องตรวจตรอ. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้ว่ารถสำหรับการใช้ขนส่งจะต้องมีสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และลักษณะต่างๆ ของรถยนต์จะต้องถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ดังนั้นจึงมีกฎขึ้นมาว่ารถที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างเยอะจำเป็นต้องนำรถไปตรวจตรอ.ทุกปี และสำหรับรถที่เข้าเกณฑ์การตรวจตรอ. ก็มีรายการดังนี้ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป และสำหรับการนับอายุยานพาหนะที่เข้าเกณฑ์การตรวจตรอ. สามารถนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรกถึงวันสิ้นสุดภาษีประจำปี (หรือก็คือวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี) เช่น หากรถยนต์มีการจดทะเบียนปี 2567 จะต้องเริ่มตรวจตรอ. ในปี 2574 นั่นเอง รถที่ตรวจตรอ. ไม่ได้ รถบางประเภทมีข้อจำกัดและเงื่อนไขที่ทำให้ตรวจตรอ. ไม่ได้ จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมขนส่งทางบกเท่านั้น โดยยานพาหนะที่มีข้อยกเว้น ได้แก่ รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรม จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้ รถของส่วนราชการ บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่ง ก็ได้ รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มี ปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุ ทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ (รายละเอียดตามข้อ 6) ให้นำรถไปตรวจ สภาพ ณ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อตรวจตรอ. สำหรับการเตรียมตัวนำรถไปตรวจตรอ. ต้องเตรียมสมุดทะเบียนรถไปด้วย และสามารถนำรถเข้าไปตรวจสภาพได้เลย หากตรวจตรอ.ผ่านก็จะได้รับใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมขนส่งทางบกกำหนดไว้ และสามารถนำใบนั้นไปต่อพรบ. รถยนต์ได้เลย โดยใบรับรองการตรวจสภาพรถนี้จะมีอายุการใช้งาน 3 เดือน ตรอ. ตรวจอะไรบ้าง ในการตรวจ ตรอ. มีรายละเอียดในการตรวจหลายอย่างเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่ายานพาหนะมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ปลอดภัย เราลองมาดูคร่าวๆ ดีกว่าว่าการตรวจตรอ.มีรายละเอียดการตรวจอะไรบ้าง เพื่อให้สามารถเตรียมและตรวจเช็กรถเองได้เบื้องต้นกันเลย ตรวจความถูกต้องของข้อมูลรถ : ข้อมูลต่างๆ ต้องตรงกับสมุดทะเบียนรถ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นป้ายทะเบียนรถ, ลักษณะรถ, แบบรถ, สีรถ, หมายเลขตัวรถ, ชนิดเครื่องยนต์, เลขเครื่องยนต์, และชนิดเชื้อเพลิง ตรวจสภาพภายในและภายนอกของรถ เช่น สภาพตัวถัง, การทำงานของอุปกรณ์ความปลอดภัย, เข็มขัดนิรภัย, ระบบไฟ, พวงมาลัย, ที่ปัดน้ำฝน ตรวจสภาพใต้ท้องรถ ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบการทำงานของระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรก เครื่องยนต์ ระบบไอเสีย และระบบเชื้อเพลิง ตรวจสอบประสิทธิภาพของเบรก ทำการทดสอบประสิทธิภาพบนลูกกลิ้ง ดังนี้ แรงห้ามล้อขณะจอดทุกล้อรวมกัน ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนำหนักตัวรถ แรงห้ามล้อหลัดทุกล้อรวมกัน ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนำหนักตัวรถ ผลต่างของแรงห้ามล้อหลักด้านขวาและด้านซ้ายต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของแรงห้ามล้อสูงสุดในเพลานั้น ตรวจสอบไฟหน้า โดยวัดจากทิศทางเบี่ยงเบนและค่าความเข้มของแสง ดังนี้ โคมไฟแสงพุ่งต่ำ มุมกดจากแนวราบระหว่างร้อยละ 0.5 (0.29 องศา) ถึงร้อยละ 4.0 (2.29 องศา) ความเข้มส่องสว่างดวงไฟแต่ละดวงไม่น้อยกว่า 6,400 แคนเดลลา (cd) และทิศทางไม่เบี่ยงเบนไปด้านขวา โคมไฟแสงพุ่งไกล ความเข้มส่องสว่างดวงไฟแต่ละดวงไม่น้อยกว่า 12,000 แคนเดลลา (cd) และทุกดวงรวมกันต้องไม่เกินกว่า 430,000 แคนเดลลา (cd) และทิศทางไม่เบี่ยงเบนไปด้านขวา และไม่สูงเกินกว่าเส้นแนวราบ ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอน โดยมีรายละเอียดดังนี้ จดทะเบียนก่อน 1 พ.ย. 2536 ค่าก๊าซ CO ไม่เกินร้อยละ 4.5 และค่าก๊าซ HC ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน จดทะเบียน 1 พ.ย. 2536 – 31 ธ.ค. 2549 ค่าก๊าซ CO ไม่เกินร้อยละ 1.5 และค่าก๊าซ HC ไม่เกิน 200 ส่วนในล้านส่วน รถยนต์อื่น นอกเหนือจากข้อก่อนนี้ ที่จดทะเบียนก่อน 1 ม.ค. 2550 ค่าก๊าซ CO ไม่เกินร้อยละ 4.5 และค่าก๊าซ HC ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน รถยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 ม.ค. 2550 เป็นต้นไป ค่าก๊าซ CO ไม่เกินร้อยละ 0.5 และค่าก๊าซ HC ไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน ตรวจควันดำในรถเครื่องยนต์ดีเซลโดยใช้กระดาษกรอง ต้องไม่เกิน 50% และความทึบแสงต้องไม่เกิน 45% ตรวจวัดเสียงต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล ทำอย่างไรหากตรวจตรอ. ไม่ผ่าน หากตรวจ ตรอ. ครั้งแรกแล้วไม่ผ่านก็ไม่ต้องกังวลไป เนื่องจากตรอ.จะแจ้งข้อบกพร่องต่างๆ มาให้กลับไปแก้ไขแล้วให้นำรถมาตรวจสภาพใหม่ได้ สาเหตุที่พบได้บ่อยคือรถควันดำหรือมีสภาพไม่พร้อมใช้งาน เช่น ระบบเบรก ทำงานไม่ดี เมื่อรู้ข้อบกพร่องที่ว่าแล้วก็นำรถไปแก้ไขจากนั้นก็นำรถกลับไปตรวจสภาพที่ ตรอ. เดิมได้ใน 15 วัน โดยเสียค่าบริการแค่ครึ่งเดียว แต่หากเกินกว่า 15 วันหรือนำรถไปตรวจตรอ. ที่อื่นจะต้องเสียค่าบริการเต็มจำนวน การตรวจ ตรอ.คือขั้นตอนที่จำเป็นของผู้ใช้รถ ดังนั้นผู้ใช้รถทุกคนควรตรวจสอบ เตรียมพร้อม และศึกษาข้อมูลให้ดี เพื่อการใช้งานของรถอย่างปลอดภัยและถูกต้องกันค่ะ   ขอบคุณข้อมูลและเครดิตภาพจาก Web: carsome.co.th

338 22 พ.ย. 2567, 01:33

เทคนิคเข้าโค้ง ขับขี่ปลอดภัยในช่วงฝนตก

เทคนิคเข้าโค้งให้ปลอดภัย ขับขี่ปลอดภัยในช่วงฝนตก การขับขี่ในสภาพฝนตกมีความท้าทายเพิ่มขึ้นเนื่องจากถนนมีความลื่นไหลและมีความเปียกน้ำทำให้เกิดการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยได้  ดังนั้นการใช้เทคนิคเข้าโค้งให้ปลอดภัยในสภาพฝนตกเป็นสิ่งสำคัญ นี่คือเทคนิคบางส่วนที่ทาง บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด มาแนะนำ เทคนิคการขับรถเข้าโค้ง ให้ปลอดภัยในช่วงหน้าฝนสามารถช่วยให้เราขับขี่ปลอดภัยได้มากขึ้น สังเกตป้ายจราจร ก่อนถึงทางโค้ง คาดการณ์ลักษณะทางโค้งข้างหน้า จับพวงมาลัยด้วยมือสองข้าง มีสมาธิมากขึ้น เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เว้นระยะห่างจากรถคันหน้ามากขึ้น เพราะเมื่อถนนลื่น รถจะใช้ระยะเบรกเพิ่มขึ้น ลดความเร็วลงจากการขับเข้าโค้งปกติ ปฏิบัติตามป้ายความเร็วควบคุมอย่างเคร่งครัด ประคองรถให้อยู่ในเลน วางตำแหน่งรถให้ถูกต้อง ห้ามแซงทางโค้ง หากเข้าโค้งเร็วเกินไปอาจทำให้รถสูญเสียการทรงตัว พลิกคว่ำได้ง่าย หากรถลื่นไถล รถเหินน้ำ ให้ถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็ว ควบคุมพวงมาลัยให้มั่น ห้ามเหยียบเบรกรุนแรงกะทันหัน จะทำให้รถหมุนเสียการควบคุม อย่าลืม! เช็กรถให้พร้อมใช้ ตรวจสอบยาง เบรก ไฟส่องสว่าง ใบปัดน้ำฝน เพื่อให้มั่นใจในการขับขี่ตลอดหน้าฝนกันนะ                          ขอบคุณข้อมูลและเครดิตภาพจาก : กรมขนส่งทางบก ขับขี่ปลอดภัย by DLT

324 21 พ.ย. 2567, 23:09

10 วิธีเอาตัวรอดจากเหตุ " ไฟไหม้ "

                                                                                                                    เมื่อเหตุ "ไฟไหม้" อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด! จึงควรเรียนรู้วิธีการรับมือเมื่อเกิดเหตุ "ไฟไหม้" ขึ้นว่าคุณต้องทำอย่างไรบ้าง? ก่อนอื่นต้องบอกว่าหากเหตุผิดปกติใดๆ ขึ้นมา คนเราจะมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ "ไฟไหม้" ฉับพลันขึ้นสิ่งแรกที่คนเราจะทำคือ ช่วยเหลือตัวเองให้รอดปลอดภัยและออกจากสถานที่เสี่ยงภัยให้เร็วที่สุด ซึ่งบางคนก็อาาจะยังไม่รู้วิธีการที่ถูกต้อง ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้แนะนำวิธีปฏิบัติตนและอพยพออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้อย่างปลอดภัย เอาไว้ดังนี้ 1. ตั้งสติให้ดี อย่างแรกคือต้องตั้งสติก่อน ไม่ตื่นตระหนก และประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้นว่าเหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงแค่ไหน และอยู่ใกล้ตัวมากแค่ไหน หากเหตุไฟไหม้นั้นเกิดขึ้นในบ้านเรือนของตน ให้ไปต่อที่ข้อ 3 ทันที 2. กดสัญญาณเตือนภัย หากเป็นเหตุไฟไหม้ที่อยู่ในสำนักงานหรือออฟฟิศที่ทำงาน ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งปุ่มกดเตือนภัยเอาไว้ หากพบว่ามีประกายไฟหรือเกิดควันที่ทำให้แน่ใจว่าเกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่แน่ๆ ควรตะโกนบอกทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นให้ทราบทั่วกัน แล้วให้รีบกดสัญญาณเตือนภัยทันที 3. โทรศัพท์แจ้ง 199 ในกรณีที่เกิดเหตุ “ไฟไหม้” ระดับรุนแรง และกินพื้นที่เป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ในบ้านเรือน ในชุมชน หรือในสำนักงาน หลังจากกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้แล้ว ให้เตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ และรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เบอร์ 199 ทันที                                                                                    4. ใช้ถังดับเพลิง ในกรณีที่เกิดเหตุ “ไฟไหม้” เพียงเล็กน้อย ให้ใช้ถังดับเพลิงควบคุมเพลิงในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงค่อยโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาควบคุมเพลิงในบางส่วนที่อาจหลงเหลืออยู่ 5. ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก ขั้นตอนนี้เป็นการเริ่มอพยพออกจากพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ เริ่มจากใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายที่อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิต 6. อย่าเปิดประตูทันที หากเกิดไฟไหม้ข้างนอกและติดอยู่ในห้อง ก่อนออกจากห้องให้ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตู หากไม่ร้อนให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และอพยพตามเส้นทางหนีไฟที่ปลอดภัย แต่หากสัมผัสผนังหรือลูกบิด พบว่า มีความร้อนสูง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะจะตกอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง มีวิธีการเอาตัวรอด คือ ให้ใช้ผ้าหนาๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันไฟสามารถลอยเข้ามาได้ ปิดพัดลมระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟ พร้อมโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อบอกตำแหน่งที่ติดอยู่ และส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือให้ได้มากที่สุด 7. หมอบคลานต่ำ ในกรณีที่ออกจากห้องมาได้แล้ว และเผชิญกับไฟไหม้ในตัวอาคาร ให้หมอบคลานต่ำหรือย่อตัวใกล้กับระดับพื้นมากที่สุด เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต เพื่ออพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด 8. ห้ามใช้ลิฟท์ ห้ามใช้ลิฟต์ในการอพยพหนีไฟ เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ติดค้างภายในลิฟต์ ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ แต่ให้ใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย และไม่ควรไม่ใช้บันไดภายในอาคารเป็นเส้นทางอพยพหนีไฟ เพราะบันไดมีลักษณะเป็นปล่อง ทำให้ควันไฟและเปลวเพลิงลอยขึ้นมาปกคลุม จึงเสี่ยงต่อการสำลักควันไฟและถูกไฟคลอกเสียชีวิต  9. หากไฟไหม้เสื้อผ้าให้กลิ้งตัวกับพื้น กรณีไฟลุกลามติดเสื้อผ้า ให้รีบถอดเสื้อผ้าหรือใช้วิธีนอนราบกับพื้นและกลิ้งตัวไปมาให้ไฟดับ อย่าวิ่งอย่างเด็ดขาด เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้น  10. ไม่หนีไปที่ห้องน้ำ ไม่หนีเข้าไปอยู่ในห้องน้ำ เพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการดับไฟ ทำให้ถูกไฟคลอกเสียชีวิตได้ ไม่ขึ้นไปอยู่ชั้นบนหรือดาดฟ้าของอาคาร เพราะไฟจะลุกลามจากชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นบน ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย ยกเว้นกรณีที่ไม่สามารถอพยพหนีไฟลงสู่ชั้นล่างได้ นอกจากนี้ก็ไม่ควรเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดอับของอาคาร อาทิ ห้องใต้ดิน เพราะยากต่อการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ และเมื่อออกมาได้แล้ว ห้ามกลับเข้าไปในอาคารที่เกิดไฟไหม้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือไปเอาสิ่งของอะไรอีกเด็ดขาด ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เท่านั้น เพราะโครงสร้างอาคารอาจพังถล่มลงมาได้                ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก www.bangkokbiznews.com /news/detail/867826

475 21 พ.ย. 2567, 19:06

ขับรถอย่างไรให้ปลอดภัยในเขตชุมชน

ทุกการเดินทางเราพร้อมดูแลคุณกับบริษัทไอดีไดรฟ์จำกัด อุบัติเหตุทางถนนที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากการเปิดประเทศ ส่วนใหญ่ยังคงเกิดขึ้นกับพวกเมาแล้วขับ รถจักรยานยนต์กลายเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ตามด้วยรถยนต์ ที่ไม่ได้เกิดแค่บนถนนไฮเวย์ หรือบนทางหลวงเท่านั้น บริเวณชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นไม่น้อย คนเดินเท้า จักรยาน คนข้ามถนน คนขายของที่อยู่ริมถนน เมื่อขับผ่านเขตชุมชนนักขับส่วนใหญ่จะมีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น เช่น ลดความเร็ว ไม่ขับจี้ท้ายหรือเปลี่ยนช่องทางไปมาด้วยความเร็ว แต่ก็ยังมีผู้ใช้รถใช้ถนนบางคนที่สติไม่ได้จดจ่ออยู่กับการขับรถ การขาดความระวังแม้แค่แวบเดียวก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยเฉพาะการขับในเขตเมือง การขับรถในเขตชุมชนนั้นดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่กลับมีอันตรายมากกว่าการขับรถบนทางหลวง ต้องใช้สมาธิมากกว่าเดิม ใจร้อน ไม่มีสติ ขาดยั้งคิด อุบัติเหตุนั้นเพิ่มมากขึ้น การสังเกต หรือคาดการณ์ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อน เครื่องหมายหรือป้ายจราจรก็เยอะ ผู้คนที่สัญจรไปมาทั้งบนทางเท้าและบนถนน ไม่เห็นป้ายบอกเขตจำกัด ความเร็ว หรือเขตโรงเรียน  การออกตัว หรือหยุดรถในเขตเมือง โดยขาดความระมัดระวัง อาจหมายถึงอุบัติเหตุ แต่ละถนน แต่ละแยก แต่ละซอย ล้วนเป็นจุดอันตราย เขตอันตราย ที่อาจไร้ความระมัดระวัง การเลี้ยวกลับรถบริเวณทางแยกทางร่วม ไม่ว่าจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือแม้แต่การขับยูเทิร์น สิ่งที่ต้องระวังก็คือรถบรรทุกขนาดใหญ่ หรือรถพ่วง บางคันอาจกำลังขับคร่อมเลนเมื่อคุณต้องการการเลี้ยวที่ปลอดภัยคือ ต้องเริ่มให้สัญญาณก่อนการเลี้ยวล่วงหน้า อยู่ในช่องทางที่จะเลี้ยวอย่างถูกต้อง ไม่ขับคร่อมเส้นแบ่งช่องทางก่อนการเลี้ยว   ขับโดยทิ้งระยะห่างจากรถคันข้างหน้าใช้ความเร็วต่ำ เพื่อจะได้มีพื้นที่ในการมองและพร้อมที่จะหลบ หรือเบรกให้ทัน ใช้เสียงแตรเตือนเมื่อไม่แน่ใจว่าเขาจะเปิดประตูออกมาหรือไม่เพื่อระวัง เนื่องจากรูปแบบของอุบัติเหตุนั้นแตกต่างกันออกไปตาม สถานที่ด้วยค่ะ สาระดี  มีมาฝาก จาก ศูนย์ตรวจสภาพรถไอดีสารคาม โดย บริษัทไอดีไดรฟ์ จำกัด นำมาฝากสำหรับทุกท่านนะคะ หากอ่านแล้วข่าวสารนี้ได้รับความรู้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใย จากศูนย์ตรวจสภาพรถไอดีไดรฟ์ ขอขอบคุณค่ะ โทร. 043-020-512, 063-506-5577 ,093-479-9747

355 20 พ.ย. 2567, 22:34

เหตุผล ทำไมเราต้องมีใบขับขี่ ?

ใบขับขี่ช่วยให้คุณรับรองตัวตนและยืนยันสิทธิในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นเอกสารที่อนุญาตให้คุณขับรถในประเทศที่คุณอาศัยอยู่ หรือประเทศที่คุณต้องการขับรถในนั้น มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้มีความจำเป็นต้องมีใบขับขี่ ดังนี้... เรื่องความปลอดภัย การมีใบขับขี่แสดงถึงความสามารถในการขับรถของคุณ ซึ่งได้รับการฝึกฝนและทดสอบในเรื่องของกฎและความปลอดภัยทางถนน มีใบขับขี่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยสำหรับคุณและผู้อื่น เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย การมีใบขับขี่ช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการขับรถ หากคุณขับรถโดยไม่มีใบขับขี่หรือใบขับขี่หมดอายุ คุณอาจต้องเสียค่าปรับ ถูกยึดใบขับขี่ หรือถูกตัดสิทธิในการขับรถชั่วคราวหรือถาวร การมีใบขับขี่ช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง ได้รับประโยชน์จากประกันภัยรถยนต์ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ การมีใบขับขี่เป็นเงื่อนไขเพื่อที่จะได้รับการประกันภัยจากบริษัทประกัน การมีประกันภัยรถยนต์ช่วยให้คุณปกป้องตัวเองและรถของคุณจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น การเดินทางต่างประเทศ หากคุณต้องการขับรถในประเทศอื่น ๆ การมีใบขับขี่ที่ถูกต้องเป็นเอกสารสำคัญที่จำเป็น เพื่อให้คุณสามารถขับรถตามกฎหมายและประกอบกิจการในประเทศนั้นได้ สิทธิ์ในการทำงาน ในหลาย ๆ อาชีพ การมีใบขับขี่เป็นเงื่อนไขเพื่อที่จะสมัครงานหรือได้รับตำแหน่งบางอย่าง เช่น งานขับรถบรรทุก หรือ งานบริการขนส่ง การเช่ารถ หากคุณต้องการเช่ารถ บริษัทเช่ารถอาจต้องการให้คุณแสดงใบขับขี่เพื่อยืนยันว่าคุณมีความสามารถในการขับรถ ความสะดวกในการเดินทาง ในกรณีที่มีด่านตรวจขันวินัยจราจร หากเรามีใบขับขี่จะช่วยให้คุณสามารถเดินทางด้วยรถส่วนตัวได้ในเวลาที่คุณต้องการ ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง สรุปคือ การมีใบขับขี่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการขับรถอย่างถูกต้องและปลอดภัย ช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎระเบียบ ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และสร้างความไว้วางใจและเชื่อมั่นในสิทธิและตัวตนของคุณในการเดินทางร่วมกับรถยนต์

2073 21 พ.ย. 2567, 23:56


Scroll to Top